รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชนวัดปุรณาวาส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส จำนวน 20 คน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1. เป็นการศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชนวัดปุรณาวาส และระยะที่ 2. เป็นการสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชนวัดปุรณาวาส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแนวสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต เครื่องบันทึกเสียง การบันทึกภาคสนาม ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการจัดหมวดหมู่ การตีความและการสร้างข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัย ผู้ป่วยรับรู้ว่าโรคเบาหวานเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นโรคเรื้อรัง เบาหวานมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้แก่ ด้านการควบคุมอาหาร เช่น งดอาหารหวานไม่ได้ ไม่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานยาไม่ตรงเวลา หรือลืมรับประทาน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะเครียดสูง มีภาวะบีบคั้นและความขัดแย้งในวิถีชีวิต ได้รับการสนับสนุนทางลบจากครอบครัว และมีข้อจำกัดด้านสุขภาพ
ผลจากการสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชนวัดปุรณาวาส มี 4 องค์ประกอบ คือ 1). ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยเอง 2). อิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิง 3). อิทธิพลจากสถานการณ์ 4). ความจำเป็นและทางเลือกอื่น ซึ่ง 4 องค์ประกอบนี้สอดคล้องกับแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพ็นเดอร์ ภายหลังสิ้นสุดโครงการพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองในการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ดีขึ้นทุกด้าน มีการควบคุมอาหารได้ถูกต้อง มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และสามารถเผชิญกับภาวะเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ผลการศึกษาครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เน้นความเป็นหุ้นส่วนร่วมระหว่างผู้ป่วย ญาติ และพยาบาล ภายใต้บรรยากาศของการดูแลแบบองค์รวม
คำสำคัญ: ผู้ป่วยเบาหวาน , การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม,รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ
Abstract
The research models to promote integral healthcare in diabetic patients at Wat Puranawas Community. This was a qualitative study . The main objectives were| to study self health care by the diabetic patients and synthesized integral health care in diabetic patients at Wat Puranawas Community. The results of which will be used in the teaching of the subject on health care promotion and preventive measures against the disease and on taking care of patients in chronic state.
The sample comprised 20 diabetic patients at Wat Puranawas Community.The research took place in 2 phases: Phase 1 is to study self health care behaviour of the diabetic patients at Wat Puranawas Community. Phase 2 is to synthesize models promoting integral health care in diabetic patients. Research tools consisted of in-depth interviews, conversational group exchanges, observations, recording tools, field information collection, verifying information trianglewise, analyzing information by grouping technique, interpreting and building up conclusions.
The results of the research show that prior to the study project the patients were well aware that the disease is due to heredity and it is chronic; that the disease is related to self health care behaviour regarding diet control. It is also found out that diet control behaviour is irrelevant, such as not being able to avoid sweet food, not exercising themselves regularly, not taking medicine on time or forgetting to take it completely. In addition, it was found that the majority of the patients is in great stress and life contradictions, without family support and health limitations.
The results from the synthesis of models promoting integral healthcare in diabetic patients at Wat Puranawas Community are of the following factors 1). The patients themselves 2). Influence from reference groups 3). Influence from situations 4). Necessities and other alternatives.These 4 factors correspond well with the model of Pander. At the end of the research it is found out that there is an improvement in self health care of the patients. They could control their diet, exercise themselves regularly, strictly taking medicine as prescribed by the doctor and could deal with stress effectively. The outcome of this study is the knowledge about the models promoting integral healthcare in diabetic patients, with the emphasis on co-operations from the patients, their relatives and nurses and under integral health care conditions.
Keywords : diabetic patients, integral health care promotion, model promoting health care.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้