ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงจัดว่าเป็นโรคเรื้อรังที่มีอันตรายถึงชีวิต ถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองได้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง (One group Pretest - Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เลือกแบบเจาะจงตามคุณลักษณะที่กำหนด จำนวน 30 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบความรู้ แบบสัมภาษณ์การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและการทดสอบค่าที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงการรับรู้ประโยชน์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมในการดูแลตนเอง หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นและแตกต่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .01
การอภิปรายและสรุปผลการวิจัย ผลของการวิจัยแสดงการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมช่วยให้ผู้ป่วยมีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องในการควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพนี้ไปปรับใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มอื่นต่อไป
คำสำคัญ: การสร้างเสริมสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง
Abstract
Hypertension is a chronic disease that can harm and cause various complications, especially if self-care inappropriately implemented. Therefore, promoting appropriate self care is important for the Patient’s health are wellbeing. The aim of this study was to examine the effects of a Health Promotion Program, based on the Health Belief Model and social support concept among hypertensive patients in Donpud district, Saraburi Province.
Methods: A quasi experimental, one group pre and posttest design was used in the study. Thirty hypertensive patients were purposely selected for the program. Six questionnaires including knowledge, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, and self care were used before and after the program. Data were analyzed by using means, percentages and a paired t - test.
Results: The results revealed that after the program ended, a mean score of knowledge on hypertension, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, and self care were statistically significantly higher than the mean score before participating the program
(p < 0.01).
Discussion and Conclusions: The findings showed that this program could help enhancing participants’ perceived susceptibility, severity, and benefits of their illness, and improve participants’ self-care in order to prevent themselves from complications. Therefore, this Health Promotion Program should be applied to other hypertensive patients in other communities.
Keywords : Health promotion, Hypertension
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้