การเสริมสร้างความสุขในการทำงานเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

Main Article Content

ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร
กลีบแก้ว จันทร์หงษ์
ปรัศนี สมิธ

Abstract

บทคัดย่อ

 

การธำรงรักษาอาจารย์พยาบาลให้คงอยู่ในองค์กรเป็นเรื่องที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญอย่างมาก การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการทำงานเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 30 ราย มีขั้นตอนดำเนินงานคือ 1) ศึกษาปัญหาสถานการณ์และกำหนดเป้าหมาย 2) วางแผนและจัดกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา และ 3) ประเมินผล โดยการตอบแบบสอบถามก่อนและหลังเข้าร่วมกระบวนการ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบที (Paired t-tests) ผลการวิจัย มีดังนี้

  1. สถานการณ์ของอาจารย์พยาบาลมีภาระงานที่มาก ทำให้ประสิทธิภาพการสื่อสารลดลง ความเชื่อถือไว้วางใจน้อย ความสุขในการทำงานน้อย ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรลดลง และการลาออกมากขึ้น
  2. หลังกิจกรรมการพัฒนาพบว่าอาจารย์พยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรโดยรวม และความเชื่อถือไว้วางใจต่อเพื่อนร่วมงาน หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความสุขด้านสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  3. ผลการสนทนากลุ่มอาจารย์พยาบาลสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการจิตปัญญาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและการกระทำ โดยรับฟังผู้อื่นโดยไม่ตัดสินมากขึ้น เข้าใจและยอมรับผู้ร่วมงาน/สิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กรมากขึ้น มีสัมพันธภาพและความรู้สึกที่ดีต่อผู้ร่วมงาน มีปฏิสัมพันธ์/แสดงออกต่อผู้อื่นไปในทางที่ดีขึ้น มีการดูแลความรู้สึกของตนเองมากขึ้นและมีความสุข

โดยสรุป กระบวนการจิตปัญญาศึกษาช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพ มีการยอมรับและมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับเพื่อนร่วมงาน ก่อให้เกิดความสุขและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกันผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการดูแลสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานและสวัสดิการที่เพียงพอ เพื่อเพิ่มความสุขในการทำงาน อันจะนำไปสู่ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น

คำสำคัญ: การเสริมสร้างความสุขในการทำงาน, ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร

 

Abstract

In recent years the nursing education system in Thailand  has experienced growth and diversification in its competitiveness. There is a notable and increasing demand for graduate nurses in the health system. Therefore, to retain qualified nursing staff in an organization administrators must realize the importance of their roles in promoting happiness and job satisfaction in its workforce. This study uses s a research and development design with the purpose of developing happiness at work while promoting adherence to an organization. The research sample comprised 30 nursing instructors at the Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. The intervention consisted of 1) exploring the situation, setting goals to improve happiness in the workplace, and promoting a commitment to the organization; 2) developing training programs through the contemplative education to build trust and teamwork, increase happiness at work, and enhance organizational commitment; and 3) evaluating happiness at work and organizational commitment using a questionnaire. The questionnaire results  were tested using a paired dependent t-test. Below is a summary of the key findings.

  1. The overall score in organizational commitment of nursing instructors was significantly increased when compared to the scores before intervention.
  2. Nursing instructors had a higher average score on trust in colleagues after the intervention than before, this result was  statistically significant at the 0.05 level of confidence.
  3. There were no differences in the overall scores on happiness at work before and after the intervention. However, the affective component of happiness in the  workplace after the intervention was higher than before the intervention with a statistically significant result  at the 0.05 level of significance. The average scores on the component related to welfare and environment aspects were not different.

In conclusion, activities that enhance happiness at work assisted people in sharing their feelings and knowledge to get a sense of membership and trust in each other. Administrators should support building trust in the workplace and improving working environments. Such programs would  lead to improved organizational commitment and help  achieve the goals of the organization.

Key words: enhancement of happiness at work, organizational commitment

 

Article Details

How to Cite
1.
ปัญญาพินิจนุกูร ช, จันทร์หงษ์ ก, สมิธ ป. การเสริมสร้างความสุขในการทำงานเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Dec. 29];22(2):11-23. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4775
Section
บทความวิจัย