ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุขเขต 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุข เขต 6 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนจำแนกตามการสนับสนุนจากหน่วยคู่สัญญาหลักของหน่วยบริการปฐมภูมิ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการดำเนินงาน การได้รับการนิเทศและการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของแต่ละสถานบริการ ซึ่งปฏิบัติงานประจำในศูนย์สุขภาพชุมชนและสถานีอนามัย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง จำนวน 237 คน ที่ผ่านการสุ่มแบบหลายขั้นตอนในแต่ละจังหวัดและสุ่มอย่างง่ายในแต่ละอำเภอของแต่ละจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และผ่านการทดลองใช้ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.71-0.96 แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุข เขต 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ =3.70, S.D.=0.62)
2) การสนับสนุนจากหน่วยคู่สัญญาหลักของหน่วยบริการปฐมภูมิ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการดำเนินงานของบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ การได้รับการนิเทศของหน่วยบริการปฐมภูมิและการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของหน่วยบริการปฐมภูมิมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสาธารณสุขเขต 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.33, 0.41, 0.38, และ 0.54 ตามลำดับ,p <0.01)
คำสำคัญ: ศูนย์สุขภาพชุมชน, มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน
Abstract
The purposes of this descriptive study were to explore the operational level of primary health care units according to the standard of community health centers at Public Health Region 6. The aim is to determine the factors related to the operational level of primary health care units according to the standard of community health centers. Specifically, to follow the support from the primary contract party of primary health care units, the perception of operation information, and receiving supervision and promoting team work. A multistage and simple random sampling method was used on participants from the study sites. A total of 237 public health personnel were recruited from community health centers in Suratthani, Chumporn, Nakhon Sri Thammarat, and Pattalung. Data were collected using a structured questionnaire developed by the researchers. The content validity was verified by three experts. The reliability of the tool was between 0.71 to 0.96 using Cronbach’s alpha. The data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's product- moment correlation. The results were as follows:
1) The overall operational level of primary health care units according to the standard of community health centers, the Region 6 Public Health was high (x̄=3.70,S.D.=.62).
2) The support from the primary contract party of primary health care units, perception of operation information, receiving supervision and promoting team work have a significant positive correlation with the operational level of primary health care units according to the standard of community health centers, the Public Health Region 6 (r=0.33, 0.41, 0.38 and 0.54 respectively, p < 0.01).
Key words: Primary Care Unit, Standard of Primary Care Unit
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้