ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 43 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 43 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หาความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายในของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach ’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 41 คน (ร้อยละ 87.2) เพศชาย 6คน (ร้อยละ12.8) อายุระหว่าง 60 -74 ปี อายุเฉลี่ย 68.4 ปี สถานภาพสมรสหม้าย/หย่า/แยก (ร้อยละ 53.1) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 61.7) ระยะเวลาป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด 40 ปี เฉลี่ย6 ปี ความสามารถในการดูแลตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดี (x̄ = 3.91,S.D. = 62) เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับดี (x̄ = 4.05 ,S.D. = 0.73) ด้านครอบครัวอยู่ในระดับดี (x̄ =4.00,S.D = 0.75) และในระดับที่ไม่ดี คือ ด้านแบบแผนการดำเนินชีวิต (x̄ = 3.87 ,S.D. = 0.68) ด้านสังคมวัฒนธรรม (x̄ = 3.82 ,S.D. = 0.73) และด้านระบบบริการสุขภาพ (x̄ = 3.82 ,S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับความสามารถในการดูแลตนเองพบว่า การได้รับคำแนะนำจากแพทย์มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยบุคลากรสาธารณสุขควรตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างครอบคลุม ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
คำสำคัญ: ความสามารถในการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, ชมรมผู้สูงอายุ
Abstract
This descriptive study focused on the factors related to the self-care agency among the elderly with hypertension attending a club for the elderly attached to Health Center 43, Meenburi, Bangkok. The sample comprised 47 older adults with the hypertension .The questionnaire was developed by the researcher and verified by three experts and the Cronach’s Alpha Coefficient showing a score of .97. The quantitative data were analyzed using percentages, averages, standard deviations, and the Chi-square Test.
The results show that of the subjects were mainly female (87.2%). Their ages ranged from 60-74 years with an average of 68.4 years. Most (53.1%) subjects were widowed, divorced or separated, and had Primary education (61.7%). Some subjects had suffered from hypertension for 40 years with an average of 6 years. The overall ability of self-care agency was low (x̄ = 3.91, S.D. = 62). In details, the residence (x̄ =4.05, S.D. = 0.73) and family (x̄ = 4.00, S.D. = 0.75) of the elderly were at a satisfactory level. However, the living plan (x̄ = 3.87, S.D. = 0.68), the society and culture (x̄ =3.82, S.D. = 0.73) and the health service system (x̄ = 3.82, S.D. = 0.63) were low. Advice provided by the physicians was significantly related to the ability of self-care among the elderly suffered from the hypertension (p<.05)
Suggested from this research is that the health care providers should continually provide information to the elderly with hypertension to help them understand their hypertension to take better care of themselves. In addition, it is recommended that nurses should follow up and visit the elderly at home to encourage them to improve their self-care.
Key Words : Ability of self- care agency, Elderly, Hypertension, Elderly club
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้