การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยบ้านทุ่งต้นศรี ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

จันทร์จิรา อินจีน
กนกวรรณ เอี่ยมชัย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยประยุกต์ใช้เทคนิค Appreciation Influence Control (A-I-C)  มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชนบ้านทุ่งต้นศรี รวมถึงผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชน  พื้นที่การวิจัยเลือกแบบเจาะจง คือ ชุมชนบ้านทุ่งต้นศรี หมู่ 5 ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้  จังหวัดพะเยา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพอนามัยชุมชน  2) การวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจข้อมูลสุขภาวะชุมชนเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของชุมชน  ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพและสุขภาพของประชาชนในชุมชน แบบสังเกตการดำเนินกิจกรรมต่างๆของชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ข้อมูลทางระบาดวิทยาวิเคราะห์โดยการใช้ดัชนีอนามัย

ผลการวิจัยพบว่า สภาวะสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนบ้านทุ่งต้นศรีจากการสำรวจ สรุปประเด็นตามกลุ่มปัญหาหลัก ได้ดังนี้ 1) ปัญหาประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 2) ปัญหาของครัวเรือนมีการกำจัดขยะมูลฝอยไม่สุขลักษณะ 3) ปัญหาน้ำประปาเป็นสนิม 4) ปัญหาการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช เมื่อประยุกต์ใช้เทคนิค A-I-C  ในการส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาสภาวะสุขภาพอนามัยของชุมชนเอง พบว่ามีประเด็นปัญหา เพิ่มเติมจากการสำรวจ คือ  1) ความต้องการบริการพื้นฐานจากอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่เจ็บป่วยแต่ละโรคและแต่ละอาการ  2) กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านยังไม่มีการรวมกลุ่มกันอย่างชัดเจน ผู้วิจัยและชุมชนพิจารณาร่วมกันกำหนดการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยการประชุมประชาคมหมู่บ้าน ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการใช้และผลกระทบจากสารเคมีทางการเกษตรเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับหนึ่ง ผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาที่เน้นให้ประชาชนมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร  เป็นการเสริมพลังอำนาจให้ประชาชนเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าเป็นฝ่ายตั้งรับ  ด้วยการกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น 

 

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, ปัญหาสุขภาพ, ชุมชน, เทคนิค Appreciation Influence Control (A-I-C)

 

Abstract

This study used an participatory action research methodology. The Appreciation  Influence  Control (A-I-C) was simplified and  applied to enhance the participation of people  in planning solutions for health problems in their community. The Tung Ton Sri community in the  Huaylan Subdistrict and the Dok Kham Tai District in Phayao Province were selected for this study. The study comprised two steps: an analysis of health problems of the community, and finding problems and solutions identified by the community.  Two questionnaires were developed by the research team. The first one was to collect on the basic information of the community. Second, to identify  the health behaviors and health status of the community members. The other instrument was a community activity observation record. Two types of data were collected and analyzed. Qualitative data were analyzed using content analysis, and quantitative data were analyzed using frequencies, percentages. A health index was used to analyze epidemiological data.

Findings from the questionnaire revealed the following health and health hazard problems of Tung Ton Sri village: 1). Hypertension 2).Garbage problems 3). Rusty water, and 4). Inappropriate use of chemical pesticides.  Information yielded from AIC process illustrated similar health problems of those reported in the questionnaire but with the following exceptions of 1). Insufficient basic health services provided by health volunteers, and 2). Disorganized  groups of youths in the village.  Reducing the use of chemical pesticides was ranked as the first priority, and rusty water was ranked second. We therefore decided to establish a solution plan for the chemical pesticide problems. Encouraging the participation of the community in reducing pesticide use  could empower the community in resource management and decision making, and increase a sense of control which should result in improvement of community  well being.

Key words: Community participation, community health and health hazard problems, appreciation  influence control (A-I-C) technique

 

Article Details

How to Cite
1.
อินจีน จ, เอี่ยมชัย ก. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยบ้านทุ่งต้นศรี ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Dec. 23];22(1):1-10. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4812
Section
บทความวิจัย