ผลของโปรแกรมเสริมสร้างเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
เมื่อผู้ป่วยเอดส์ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นักศึกษาพยาบาลมีโอกาสได้ช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่องทั่วๆ ไป แต่พบว่านักศึกษามีความกลัวและความวิตกกังวล โดยกลัวว่าจะติดเชื้อจากผู้ป่วยไม่ต้องการเข้าใกล้ผู้ป่วยถ้าเป็นไปได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ก่อนกับหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยโปรแกรมเสริมสร้างเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสอบถามเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ของนักศึกษาพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่านักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทั่วไป นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์อยู่ในระดับปานกลาง
2. หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่านักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านทั่วไป และ ด้านจิตวิญญาณ นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์อยู่ในระดับมาก
3. การเปรียบเทียบผลการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของนักศึกษาพยาบาล พบว่านักศึกษาพยาบาล มีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t = 15.34, p < .001)
ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้แนะว่าโปรแกรมเสริมสร้างเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลถึงการปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ป่วย กลุ่มนี้ด้วยความเอาใจใส่มากขึ้น ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเอดส์อย่างเอื้ออาทรทั้งในหอผู้ป่วยและในชุมชนต่อไป
คำสำคัญ: โปรแกรมเสริมสร้างเจตคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์, นักศึกษาพยาบาล
Abstract
When AIDS patients are admitted to hospital nursing students often only provide basic nursing care to the patients. The reason for providing only basic care appears to stem from the nursing students’ fear and reluctance to take care of these patients because of the stigma associated with the disease. This quasi-experimental research was conducted to investigate the effects of a program to enhance attitudes by nursing students towards AIDS patients. The participants in the study were 136 second-year nursing students from Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi during the 2011 academic year. The educational instrument used was a program for enhancing attitudes toward AIDS patients by nursing students developed by the researchers, and a questionnaire for assessing attitudes towards AIDS patients. The internal consistency reliability of the questionnaire was determined to be 0.92. Data were analyzed using percentages, means, standard deviations, and a paired t-test.
The results are summarized below.
1. Prior to participating in the program the nursing students attitudes toward AIDS patient care was assessed. This assessment comprised overall and the subscales on physical, mental, emotional, social, and spiritual care for AIDS patients was rated at the high level, while their attitudes toward general care for AIDS patients was rated at the moderate level.
2. After participating the program, the nursing students had attitude scores toward AIDS patient care for the overall and the subscales of physical, mental, emotional, and social care for AIDS patients rated at the highest level, whereas the scores of attitude toward general and spiritual care for AIDS patients had risen to the high level.
3. Comparing the nursing students’ scores of attitude toward AIDS patient care before and after participating the program it was shown that the nursing students had significantly higher scores on attitudes towards AIDS patient care (t = 15.34, p < 0.001).
From the results, it can be concluded that the educational program enhanced the nursing students’ attitudes towards AIDS patient care. These results suggest that nursing students might be more willing to take care of AIDS patients in the future. It is therefore recommended that an educational program such as this should be added to a nursing practicum course in hospital and community settings.
Key words: nursing student, attitudes to HIV/AIDS
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้