ผลของการใช้นวัตกรรมที่นอนยางรถเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

Main Article Content

ปัญญภัทร ภัทรกัณทากุล

Abstract

บทคัดย่อ

แผลกดทับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วย  ครอบครัว และบุคลากรในทีมสุขภาพ การดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญที่จะช่วยลดความทุกข์ทรมานจากเจ็บปวด การติดเชื้อ ความเจ็บป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนลดภาระการดูแลของครอบครัว และแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของการดูแลรักษาและการพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งการดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับควรเป็นการปฏิบัติบนพื้นฐานของความรู้ และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อธิบายได้ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และความรู้จากการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจอย่างชัดเจนอันจะส่งผลถึงวิธีการดูแลที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทที่เกิดขึ้น

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง โดยศึกษาผลของนวัตกรรมที่นอนยางรถ

เพื่อป้องกันแผลกดทับ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อแผลกดทับ เปรียบเทียบกับการใช้ที่นอนลมไฟฟ้า ในหอผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 ราย ทำการศึกษาระหว่างเดือน มกราคม 2554  ถึง มิถุนายน 2554   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ การวินิจฉัยโรค   น้ำหนัก ส่วนสูง คะแนนกลาสโกว คะแนนบราเดน ระยะเวลาในการใช้ที่นอน 2)แบบบันทึกการเกิดแผลกดทับ ได้แก่  การเกิดแผลกดทับ จำนวนของแผลกดทับ และระดับของแผลกดทับ 3) แบบบันทึกข้อมูลการใช้นวัตกรรมที่นอนยางรถ และที่นอนลมไฟฟ้าได้แก่ ความดันลมยาง การปรับความดันลม 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อนวัตกรรมที่นอนยางรถ  5) แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันแผลกดทับและแผ่นพับ 6) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมที่นอนยางรถ ที่สูบลมยาง และ เครื่องวัดความดันลมยางซึ่งเครื่องมือการวิจัยได้ผ่านการทดสอบได้ค่าความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นแล้ววิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาความแตกต่างของข้อมูลทั่วไประหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยใช้สถิติไค-สแควร์ (X2) และข้อมูลของการใช้นวัตกรรมที่นอนยางรถเปรียบเทียบกับที่นอนลมไฟฟ้าวิเคราะห์ด้วยสถิติแมนน์ วิทนีย์ ยู เทสต์ (Mann -Whitney U test)

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า

1. กลุ่มควบคุมที่ใช้ที่นอนลมไฟฟ้าและกลุ่มทดลองที่ใช้นวัตกรรมที่นอนยางรถพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p< 0.01)

2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติที่มีต่อนวัตกรรมที่นอนยางรถ ร้อยละ 88.13

จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมที่นอนยางรถสามารถใช้ป้องกันแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อแผลกดทับที่บ้านได้โดยใช้ร่วมกับแนวปฏิบัติในการป้องกันแผลกดทับ

คำสำคัญ: นวัตกรรมที่นอนยางรถ, แผลกดทับ

 

Abstract

Pressure sores are a health problem in chronic patients with complications that not only impact on the patients, but families and health care providers. Prevention of pressure sores is important to reduce suffering from pain, infection, more illness and family burden. Pressure sore prevention can benefit from high quality of nursing care based on scientific knowledge such as clinical research in order to increase the efficiency and effectiveness of nursing care.

The purpose of this quasi - experimental research was to study the effects of the Tire-bed innovation for pressure sore prevention in at-risk patients compared with the effects of an Alpha bed. The sample was derived from patients in a  male in-patient unit in Chiang Khong Crown Prince Hospital, Chiang Rai Province, from January to June, 2011. Thirty people were purposively selected and equally assigned into 2 groups: 15 experimental and 15 control groups.  The research instrument consisted of 1) Demographic data record form  : age , diagnosis, body weight, height , Glasgow coma scale , Braden scale , period of time in a Tire-bed or Alpha bed 2) The incidence of pressure sore recording form 3) The details  of using   Tire-bed innovation and Alpha bed recording form :  pressure and adjustment.  4) The satisfaction of patients and relatives form. 5) Guideline for pressure sore prevention  handout. 6) Th einstrument used to research implementation were: Tire-bed innovation ,  pressure pump and gauge. Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-Squares  (X2) and the Mann -Whitney U  test.

The result revealed that:

1. Comparing the control group using Alpha bed and experimental group using Tire-bed innovation showed there was  no statistically significant difference at the 0.01 level (p<0.01).

2. Patients and relatives’ satisfaction was  high: 88.13 percent when Tire-bed innovation was applied.

The results of this research indicated that Tire-bed innovation can prevent pressure sore effectively and can apply to chronic pressure sores in at-risk patient usage at home along with guidelines for  pressure sore prevention.

Key words: Tire-Bed Innovation, Pressure Sore

 

Article Details

How to Cite
1.
ภัทรกัณทากุล ป. ผลของการใช้นวัตกรรมที่นอนยางรถเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Dec. 23];22(1):48-60. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4828
Section
บทความวิจัย