ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองใน การป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

ฮูดา แวหะยี
บุญสิทธิ์ ไชยชนะ
กรรณิกา เรืองเดช

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไม่สูบบุหรี่ และยินยอมเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน โดยจับสลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ซึ่ง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต ซึ่งประกอบด้วยการได้รับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่ การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาทักษะการปฏิเสธและเจรจาต่อรอง การพัฒนาทักษะการตัดสินใจ การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และการพัฒนาทักษะการจัดการกับความเครียด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่และแบบประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต ผลการศึกษาพบว่านักศึกษากลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และนักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตมีประสิทธิผลต่อการสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษาที่ยังไม่สูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามควรจะมีโปรแกรมกระตุ้นให้กับนักศึกษากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลของโปรแกรมยังคงอยู่ต่อไป

คำสำคัญ: โปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การป้องกันการสูบบุหรี่

 

Abstract

This quasi-experimental research aimed to evaluate the effectiveness of a life skills training program on perceived self efficacy for the prevention of smoking among the first year students at Yala Rajabhat University. The research sample comprised  first year students from Yala Rajabhat University. The students came from the three provinces of Pattani, Yala and Narathiwat. The sample were non-smokers who volunteered to take part in the study. The sample comprised 60 participants divided equally into experimental  and control groups. The experimental group received a life skill development program including knowledge about smoking and its health consequences, life skills training, refusal and negotiation skills, decision making skills, problem-solving skills, and coping and stress management skills. The control group received knowledge about smoking and health consequences. The research instruments were a life skills training program adapted from social learning theory, a perceived self efficacy test for prevention of smoking and an assessment of satisfaction of life skills training program. The results revealed that the average scores on perceived self efficacy for prevention of smoking among experimental group after receiving the life skills training program was statistically significantly higher than that of the pre-test score (p < 0.05). Furthermore,  the average scores on perceived self efficacy for the prevention of smoking among the experimental group after receiving the life skills training program was statistically significantly higher than the control group  (p < 0.05).

The findings of this study indicated that the life skills training program provides evidence suggesting that the  self efficacy training program for the prevention of smoking among non-smoker is an effective intervention. However, there may be a need for refresher programs for non-smoking students to maintain the results obtained in this program.

Key words : Life Skill Training Program, Perceived Self Efficacy, Prevention of Smoking

 

Article Details

How to Cite
1.
แวหะยี ฮ, ไชยชนะ บ, เรืองเดช ก. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองใน การป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 8 [cited 2024 Nov. 22];22(1):85-97. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4840
Section
บทความวิจัย