ความรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาลวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Main Article Content

วิรดา อรรถเมธากุล
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการประเมินความรู้ด้านปฏิบัติการพยาบาลตามทักษะที่จำเป็นหลังการเรียนวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) และผลการเปรียบเทียบความรู้ด้านปฏิบัติการพยาบาลตามทักษะการพยาบาลที่จำเป็น คือ 1. การฉีดยา 2. การทำแผล 3. การใส่สายและให้อาหารทางสายยาง 4. การให้ออกซิเจน 5. การสวนปัสสาวะ 6. การบันทึกทางการพยาบาล และ 7. การใช้กระบวนการพยาบาล  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) จำนวน 107 คน  เป็นเพศหญิง 102 คน (ร้อยละ 95.33 ) และเพศชาย  5 คน (ร้อยละ 4.67) อายุเฉลี่ย 32.58 ปี อายุสูงสุด 48 ปี อายุต่ำสุด 24 ปี  ระยะเวลาของประสบการณ์การทำงานอยู่ในช่วง 5-10 ปี มากที่สุด 63 คน (ร้อยละ 57.27) ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพยาบาล 78 คน (ร้อยละ 72.89) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความรู้การปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20-0.36 และค่าความยากง่ายระหว่าง 0.24-0.69 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) มีผลประเมินความรู้ด้านการปฏิบัติพยาบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี(x̄ = 7.41, S.D. = .74) เมื่อจำแนกความรู้ตามทักษะการพยาบาลพบว่า อยู่ในระดับดีมาก คือ การบันทึกทางการพยาบาล(x̄ = 9.13 , S.D. = 1.06)  และ การทำแผล (x̄ =  8.37 ,  S.D.  =  1.15) และอยู่ในระดับดีคือ การให้ออกซิเจน การสวนปัสสาวะ และการใช้กระบวนการพยาบาล และอยู่ในระดับปานกลางคือการฉีดยา และการใส่และให้อาหารทางสายยาง  2. นักศึกษาแต่ละกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ทุกทักษะการพยาบาลไม่แตกต่างกัน (p>.05) ยกเว้นทักษะการพยาบาลการสวนปัสสาวะที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. นักศึกษาที่มีอายุ  ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต้นสังกัด และระยะเวลาของประสบการณ์การทำงานต่างกัน คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาลทุกทักษะการพยาบาลของนักศึกษาไม่แตกต่างกัน (p>.05)

จากการศึกษาครั้งนี้ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ โดยการจัดหาแหล่งฝึก การแบ่งกลุ่มในการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาตามคุณสมบัติต่างๆ  การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลตามสภาพจริง เกิดความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติการพยาบาลให้มากที่สุดต่อไป

คำสำคัญ: ความรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาล , นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

 

This study investigated the learning outcomes of students (continuing education program) enrolling in the “Basic Concepts and Principles of Nursing” subject at Borommarajonani College of Nursing, Ratchaburi. The study also compared skills performance of students practicing in  different clinical placements. The attributes and the length of previous nursing experiences before undertaking the continuing nursing program were tested to assess if they affected the knowledge gained after completing  the subject. The knowledge relevant to nursing procedures in this study included: injecting drugs, dressing wounds, inserting  NG tubes and feeding, providing oxygen, urinary bladder catheterization, documenting nursing care, and employing nursing processes. Of the 107 continuing education nursing students, 102 of them (95.33%) were female and 5 (4.67%) were male. Their ages ranged  between 24 to 48 years  (x̄ = 32.58). Most of them had 5 to 10 years general work experience, 57.27%, and in nursing 72.89%. A modified essay question (power of discrimination = 0.20 to 0.36 and easiness-difficulty values= 0.24 to 0.69) was used as a tool to assess the subjects knowledge of nursing practice. It was found that: 1/ All students in the study had overall knowledge of nursing practice after completing this subject rated as “fair” (x̄ = 7.41, S.D.  = .74). When sorting out each skill mentioned, it appeared that the knowledge of documenting nursing care by the students was rated as “excellent” (x̄ = 9.13, S.D.  = 1.06). Of wound dressing it was rated as “good” (x̄ = 8.37, S.D.  = 1.15), and of the resting procedures were rated  as “fair”.  2/  There were no significant differences in the nursing knowledge of students practicing in different clinical placements (p>0.05). However, apart from knowledge related to urinary bladder catheterization there were significant differences in the knowledge of students practicing (p< 0.05). Regarding age, previous characteristics and length of working experience, no significant differences in knowledge were found among students (p>0.05).  These findings can be used as baseline data to enhance the nursing knowledge for students, to prepare them to perform more effectively in their clinical practice, and also to design learning activities  to increase the quality of teaching and learning strategies for the “Basic Concepts and Principles of Nursing” subject.

Keyword:  Knowledge of  Nursing procedure , Nursing student

 

Article Details

How to Cite
1.
อรรถเมธากุล ว, แจ่มแจ้ง ศ. ความรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาลวิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 10 [cited 2024 Dec. 23];21(2):18-2. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4866
Section
บทความวิจัย