ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง : กรณีศึกษา โรงพยาบาลทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

กรรณิกา เรืองเดช
อภิรดี แซ่ลิ่ม
ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของโรงพยาบาลทุ่งยางแดง จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางปกติที่เคยปฏิบัติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแบบจำลอง PRECEDE Framework แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพใช้แบบลีลาชีวิตในการส่งเสริมสุขภาพ (HPLP II) และแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตใช้แบบวัดภาวะสุขภาพทั่วไป (SF-36) ภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน  ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อไปอีกระยะหนึ่ง และทำการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

 

คำสำคัญ: การดูแลตามแนวทางเวชปฏิบัติ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ คุณภาพชีวิต ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

Abstract

This quasi-experimental research aimed to study the effects of medical care program on health promotion behaviors and quality of life among chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients. The sample comprised  40 COPD patients who received care from Thungyangdaeng Hospital, Pattani Province. Samples were randomly assigned to experimental and control group (20 each). The experimental group received  a medical care program which included education on the disease, pulmonary rehabilitation, techniques on how to quit smoking, and psychosocial supports. The control group received routine medical care at the hospital. The research instruments, developed by the researcher, included the medical care program, which was adapted from PRECEDE Framework. The Health-Promoting Lifestyle Profile II and the 36-Item Short-Form Health Survey were used for the interview of health promotion behaviors and quality of life, respectively. After 12 weeks, the results revealed that  that the average score of the health promotion behavior of the experiment group, after receiving the medical care program, was not statistically different than that of the control group while the average score of the health promotion behavior of the experimental group, after receiving the program, was statistically different than the pre-test score. The average score of the quality of life of the experimental group, after receiving the program, was statistically significantly higher than that of the control group (p< .05) and the average score of the quality of life of the experimental group, after receiving the program, was also statistically significant higher than that the pre-test score (p< .05). It is felt that  more time to change individual behaviors is required.  Accordingly,  the medical care program should be continually be implemented and the effects should be periodically evaluated.

Keywords : Medical Care Program, Health Promotion Behaviors, Quality of Life, COPD patient

Article Details

How to Cite
1.
เรืองเดช ก, แซ่ลิ่ม อ, ชาวสวนศรีเจริญ ไ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง : กรณีศึกษา โรงพยาบาลทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 10 [cited 2024 Nov. 22];21(2):39-4. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4869
Section
บทความวิจัย