กระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส

Main Article Content

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์
สุวิมล แสนเวียงจันทร์
ประทีป ปัญญา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยกระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาสครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมพลัง(Empowerment) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงของชุมชนวัดปุรณาวาส และ เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส  จำนวน 20 คน ทำการวัดคะแนนพฤติกรรมสุขภาพก่อนกระบวนการเสริมพลังและหลังกระบวนการเสริมพลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การคลายเครียด และการรักษาอย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมกระบวนการเสริมพลัง การเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพทำ 2 ครั้งคือก่อนการทดลองและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ใช้การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ  การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย พิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired T-test การวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ (content Analysis) ในการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มของกิจกรรมการเสริมพลัง

ผลการวิจัยพบว่าคะแนนรวมพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มตัวอย่างหลังกระบวนการเสริมพลังเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มากกว่าก่อนกระบวนการเสริมพลัง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กระบวนการเสริมพลังก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในระดับบุคคล ของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส

คำสำคัญ : กระบวนการเสริมพลัง, ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง, พฤติกรรมสุขภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

 

Abstract

This research focuses on the process of empowerment on health behavior changes for diabetic patients in Wat Puranavas community has four objectives:  to study the outcome of applying empowerment process on health behavior changes in persons with high blood sugar levels at the Wat Puranavas community; and to encourage diabetic patients to realize that, with health behavior change, blood sugar levels could be controlled. To achieve this a semi-experimental methodology was used. Group samples are 20 diabetic patients in the Wat Puranavas community. Measurements on health behavior before and after the empowerment process were taken. Research tools comprised questionnaires on health behavior regarding food consumption behavior, physical exercises, rest, relaxation, continual health care and activities of the empowerment process. Data on health behavior were collected two times: before and after the experiments. Statistical analysis on personal data consists of enumerating frequency and percentages, comparing health behavior marks gained before and after the experiments, statistical analysis on outcomes from scope, mean values, standard deviations, paired T-tests, and content analysis in analysing group processes from the empowerment activities.

The research found that the total health behavior points after the empowerment process on health behavior changes are higher than those before the empowerment process at a statistically significant level of 0.1. From this research the empowerment process has created  health behavior changes in diabetic patients at Wat Puranavas community.

Keywords: empowerment process, health behavior to reduce blood sugar levels, persons with high blood sugar levels.

 

Article Details

How to Cite
1.
พงษ์ประภาพันธ์ เ, แสนเวียงจันทร์ ส, ปัญญา ป. กระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 10 [cited 2024 Nov. 22];21(2):65-73. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4873
Section
บทความวิจัย