ศึกษาสถานการณ์การดำเนินการจัดการความรู้ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินการจัดการ
ความรู้ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จใน
การดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน
482 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
และสถานการณ์การดำเนินการจัดการความรู้ วิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และรวบรวมสรุปประเด็น
ส่วนที่ 2 ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร
วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนมากร้อยละ 84 เคยเข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ และวิทยาลัยร้อยละ 90.2
มีการจัดตั้งทีมงานในการดำเนินการจัดการความรู้ สำหรับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการความรู้ กลุ่ม
ตัวอย่างร้อยละ 43.6 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร้อยละ 22.4 มีส่วนร่วม
โดยเป็นทีมคณะทำงานการจัดการความรู้
องค์ความรู้ที่วิทยาลัยมีการจัดการความรู้ ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การวิจัย คิดเป็นร้อยละ 86.2 รองลงมา
คือ การจัดการเรียนการสอน ร้อยละ79.3 และการบริหารจัดการ ร้อยละ 58.6 การประกันคุณภาพการศึกษา ร้อยละ
48.3 การพยาบาลร้อยละ 44.8 การสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ร้อยละ 37.9 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ
27.6 และการบริหารความเสี่ยง การเงินและพัสดุ ร้อยละ 13.8
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร พบว่า
ปัจจัยส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ย 3.89 ซึ่งสูงกว่าปัจจัยภายในองค์กรมีค่าเฉลี่ย 3.57 แต่ทั้ง 2 ปัจจัยอยู่ในระดับมาก ดังนี้
ปัจจัยส่วนบุคคลที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร อยู่ในระดับมาก คือ
ด้านการยอมรับ มีค่าเฉลี่ย 4.15 ด้านแรงจูงใจ มีค่าเฉลี่ย 4.01 และด้านความรู้ ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ย 3.52 ปัจจัยภาย
ในองค์กรที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร อยู่ในระดับมาก คือ ด้านผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย
3.70 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 3.66 และด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 3.50 ส่วนด้านวัฒนธรรมองค์กร
และด้านโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.49 เท่ากัน
คำสำคัญ : การจัดการความรู้
นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชชนก
นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชชนก
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินการจัดการ
ความรู้ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จใน
การดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน
482 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
และสถานการณ์การดำเนินการจัดการความรู้ วิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และรวบรวมสรุปประเด็น
ส่วนที่ 2 ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร
วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนมากร้อยละ 84 เคยเข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ และวิทยาลัยร้อยละ 90.2
มีการจัดตั้งทีมงานในการดำเนินการจัดการความรู้ สำหรับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการความรู้ กลุ่ม
ตัวอย่างร้อยละ 43.6 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร้อยละ 22.4 มีส่วนร่วม
โดยเป็นทีมคณะทำงานการจัดการความรู้
องค์ความรู้ที่วิทยาลัยมีการจัดการความรู้ ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การวิจัย คิดเป็นร้อยละ 86.2 รองลงมา
คือ การจัดการเรียนการสอน ร้อยละ79.3 และการบริหารจัดการ ร้อยละ 58.6 การประกันคุณภาพการศึกษา ร้อยละ
48.3 การพยาบาลร้อยละ 44.8 การสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ร้อยละ 37.9 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ
27.6 และการบริหารความเสี่ยง การเงินและพัสดุ ร้อยละ 13.8
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร พบว่า
ปัจจัยส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ย 3.89 ซึ่งสูงกว่าปัจจัยภายในองค์กรมีค่าเฉลี่ย 3.57 แต่ทั้ง 2 ปัจจัยอยู่ในระดับมาก ดังนี้
ปัจจัยส่วนบุคคลที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร อยู่ในระดับมาก คือ
ด้านการยอมรับ มีค่าเฉลี่ย 4.15 ด้านแรงจูงใจ มีค่าเฉลี่ย 4.01 และด้านความรู้ ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ย 3.52 ปัจจัยภาย
ในองค์กรที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร อยู่ในระดับมาก คือ ด้านผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย
3.70 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 3.66 และด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 3.50 ส่วนด้านวัฒนธรรมองค์กร
และด้านโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.49 เท่ากัน
คำสำคัญ : การจัดการความรู้
นักวิชาการศึกษาชำนาญการ กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชชนก
นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัย สถาบันพระบรมราชชนก
Article Details
How to Cite
1.
เขียววิมล ว, เจียมอมรรัตน์ ร, อินทองปาน อ. ศึกษาสถานการณ์การดำเนินการจัดการความรู้ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 16 [cited 2024 Nov. 24];21(1):96-105. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/4986
Section
บทความวิจัย
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้