ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมต่อความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

จรูญลักษณ์ ป้องกัน
จันทร์ฉาย มณีวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ ดั้งนั้นญาติ/ผู้ดูแลจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในด้านต่างๆ หากญาติ/ผู้ดูแลมีความพร้อมในการดูแลย่อมส่งผลต่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมต่อความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน กลุ่มตัวอย่างคือญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลเจ้าพระยา
ยมราช จำนวน 60 คน โดยเลือกอย่างเจาะจง เป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลอง 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1. โปรแกรมการเตรียมความของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่าย 2 . แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของญาติ/ผู้ดูแล 2) ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3) แบบประเมินความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแล 8 ด้าน ที่พัฒนาตามกรอบแนวคิดความพร้อมในการดูแลของสจ๊วตและอาร์ชโบล์ด ,1986 กลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง
จะได้รับการดูแลโดยใช้โปรมแกรมการเตรียมความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายกลับบ้าน ระยะเวลา 1-2 วันก่อนจำหน่าย กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองจะได้รับการตอบแบบประเมินความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแล ข้อมูลทั่วไปของญาติ/ผู้ดูแล และข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม 2551 นำข้อมูลกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที
(Independent t-test)
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพร้อมรายด้านและโดยรวมของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับพร้อมมากทั้งกลุ่มทดลอง (X=2.97-3.20, SD= 0.62-0.93) และกลุ่มควบคุม (X=2.67-3.13 , SD= 0.81-1.04 ) และค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
จากผลการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำโปรแกรมการเตรียมความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายกลับบ้าน มาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และกลับมารักษาซ้ำ เนื่องจากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง และญาติ/ผู้ดูแลมั่นใจที่จะดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน

คำสำคัญ : โปรแกรมการเตรียมความพร้อม/ความพร้อม/การจำหน่ายกลับบ้าน/ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
* * พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี

The Effects of Preparing Program on readiness among Hemorrhagic Stroke Patient Caregivers before Discharge at Chaophraya Yommaraj Hospistal, Suphanburi

Abstract
Hemorrhagic Stroke is a chronic disease which affects patients not able to take care of themselves. Caregivers, hence, have very important role for caregiving. If the caregivers are ready to provide care, caregiver to the patients will be efficient. The objectives of this study were to review the effect of preparing program on readiness among hemorrhagic stroke patient caregivers before discharge. Specific Sampling group included 60 hemorrhagic stroke patients at surgery ward, Chaophraya Yommaraj Hospital. They were divided into 30 participants in control group, and 30 participants in experimental group. Applied tools in the study included 1. Preparing program for hemorrhagic stroke patient caregivers before discharge, 2. Questionnaires divided into 3 sections namely a. General information of the caregivers, b. General information of hemorrhagic stroke patient
and c. Evaluative form about 8 aspects readiness of the caregivers, developed according to Stuart and Archbold’s Caregiving Readiness Concept, 1986. The control group received normal care and the experimental group received caregiver preparing program 1-2 days before discharge. Caregivers
of the two groups had been evaluated readiness in caregiving. General information of the caregivers and the patients were collected during March, 2010 to July, 2010. Information of the control and experimental groups were compared and analyzed by using frequency distribution, average, standard deviation and Independent t-test method.
It had been found that readiness of the caregivers in experimental group (X=2.97-3.20, SD=
0.62-0.93) and control group (X=2.67-3.13 , SD=0.81-1.04) were high. Average points of readiness in the two groups were not statistically significant different (0.05).
Further to the result, we suggested that practical nurses should apply preparing program
for hemorrhagic stroke patient caregivers appropriately. So the patients received save and proper care in order to avoid complication and re-admission.

Keywords : preparing program, readiness level, discharge, hemorrhagic stroke patient
*,** Register Nurse Chaophraya Yommaraj Hospital.

Article Details

How to Cite
1.
ป้องกัน จ, มณีวงษ์ จ. ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมต่อความพร้อมของญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jan. 16 [cited 2024 Dec. 29];21(1):58-70. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/5006
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

จรูญลักษณ์ ป้องกัน

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

จันทร์ฉาย มณีวงษ์

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี