ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี;Factors Related to Low Birth Weight Newborns at Chaoprayayommaraj Hospital, Suphanburi Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในมารดาที่คลอดในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มมารดาที่มาคลอด ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2551- 31 พฤษภาคม 2551 จำนวน 733 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ร้อยละ และการทดสอบไค-สแควร์
ผลการศึกษา พบว่า อายุเฉลี่ยของมารดาเท่ากับ 26.33 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษา ร้อยละ48 อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ ร้อยละ 46.3 มีการฝากครรภ์ร้อยละ 85 ส่วนใหญ่ตั้งครรภ์แรกร้อยละ 59.1 และเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 33.3 มารดาที่คลอดบุตรน้ำหนักปกติ คิดเป็นร้อยละ 87.3 และคลอดทารกน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2,500 กรัม) ร้อยละ11.63 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารก
แรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p >.05) ได้แก่ อายุมารดา อายุครรภ์ การฝากครรภ์ ประวัติการตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรมีบทบาทเชิงรุกในการเฝ้าระวังการคลอดทารกน้ำหนักน้อยในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงตั้งครรภ์ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมทั้ง รณรงค์เชิงรุกให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในแง่ของอายุครรภ์ครั้งแรกที่เริ่มฝากครรภ์ และจำนวนครั้งของการฝากครรภ์ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยหรือไม่
คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ทารกน้ำหนักตัวน้อย
* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Factors Related to Low Birth Weight Newborns at Chaoprayayommaraj Hospital, Suphanburi Province
Abstract
The purpose of this descriptive study was to examine the factors correlated with low birth weight newborns at Chaoprayayommaraj Hospital, Suphanburi.The population in the study comprized 733 mothers who delivered child during March 1st to May 31st , 2010 at Chaoprayayommaraj Hospital.
The tool used to collect data was a questionnaire asking about individual characteristics and health behavior. The data was analyzed using frequencies, percentages and Chi-square statistical methods. The result of this study revealed that the age of 50.4% of the population ranged from 20-29 years. Most of them (53.6 percents) graduated high school, The data showed that 88.9% had more than 36 weeks of gestational age and 93.8% applied prenatal care. For half (50.1%) this was their first
pregnancy and 8.2% had experienced complications. The majority (88.37%) of the participants delivered normal weight babies and 11.63% delivered low birth weight babies defined as less than 2,500 grams. Statistically significant factors correlated with low birth weight newborns (p>.05) were mother’s age, gestational age, prenatal care, history of pregnancy and complications during the pregnancy.
The findings suggest that nurses should have an assertive role to prevent low birth weight babies delivered by mothers aged less than 20 years of age, first pregnant mothers and pregnancy complications. Nurses should also campaign for prenatal care before 12 weeks of pregnancy and focus on the number of ANC visits and first prenatal care.
Key word : low birth weight, Factors related to
* Registered nurse Chaopray Yommaraj Hospital
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้