สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย

Main Article Content

ปริทัศน์ เจริญช่าง
สุวัฒนา เกิดม่วง
สุรินธร กลัมพากร

Abstract

บทคัดย่อ

      รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงการสำรวจ (Qualitative exploratory research designs) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ ผ่านการรับรู้ ความคิดและมุมมองของผู้ให้ข้อมูลหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling technique) วิเคราะห์ข้อมูล ตีความตามแนวคิดสมรรถนะของ Spencer และการวิเคราะห์เนื้อหา

      ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ประกอบด้วย 1) สมรรถนะที่สังเกตได้ และ
2) สมรรถนะที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล สมรรถนะที่สังเกตได้ ได้แก่ ความรู้ (มี 3 องค์ประกอบ) และทักษะ (มี 4 องค์ประกอบ) ส่วนสมรรถนะที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ได้แก่ คุณลักษณะเฉพาะของบุคคล (มี 3 องค์ประกอบ)

      ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนและเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิชาการสาธารณสุขให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับสมรรถนะตามขอบเขตวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านการสาธารณสุขในเรื่องการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การจ่ายค่าตอบแทน สำหรับนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิต่อไป

 

คำสำคัญ: สมรรถนะ; หน่วยบริการปฐมภูมิ; วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน; นักวิชาการสาธารณสุข

* วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ; อีเมล์ติดต่อ : wadna2327@hotmail.com

** ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


Public Health Professional Competency of Public Health Officers

Working in Thai Primary Care Units

Parithat Charoenchang* 

Suwattana Kerdmuang*

Surintorn Kalampakorn**

Abstract

       This qualitative exploratory study was designed to explore the components of public health professional competency  of  public health officers working in Thai primary care units. Twenty stakeholders, selected for their expertise in public health services in primary care units, participated in in-depth interviews. Data were analyzed by content analysis: Spencer’s competency concepts were used as the theoretical lens for initial data interpretation.

      The results revealed that public health professional competencies were both visible and hidden. The visible competencies included knowledge (3 components) and skills (4 components).  The hidden competencies included traits [i.e., motives, values, and self-concept (3 components)]. 

      The study findings are useful in establishing guidelines and policies related to training and reimbursement for primary care unit public health officers.

     

Key words: competencies; primary care unit; public health professional; public health officers

*Sirindhorn College of Public Health, Suphanburi ; e-mail : wadna2327@hotmail.com

*Department of Public Health Nursing, Faculty of Public health, Mahidol University

Article Details

How to Cite
1.
เจริญช่าง ป, เกิดม่วง ส, กลัมพากร ส. สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Apr. 25 [cited 2024 Mar. 29];26(1):40-51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/57059
Section
บทความวิจัย
Author Biography

ปริทัศน์ เจริญช่าง, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี