โรงพยาบาลที่ดึงดูดใจบุคลากร (Magnet Hospital): แนวทางการพัฒนาองค์กร

Main Article Content

กันยารัตน์ อุบลวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

การขาดแคลนพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ ในปี ค.ศ. 1980 American Academy of Nursing (AAN) ได้มีการศึกษาโรงพยาบาลที่สามารถดึงดูดใจบุคลากรทางการพยาบาลได้

พบว่าโรงพยาบาลเหล่านั้น มีองค์ประกอบที่เหมือนกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ระบบการบริหารงานที่ดี การปฏิบัติภายใต้ขอบเขตของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ และมีปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดใจ 14 ปัจจัย เรียกว่า Forces of Magnetism  ได้แก่ คุณภาพของการเป็นผู้นำการพยาบาล โครงสร้างขององค์กรรูปแบบการบริหารจัดการ นโยบายและโครงสร้างด้านบุคลากร รูปแบบความเชี่ยวชาญของการดูแล คุณภาพของการดูแล การพัฒนาคุณภาพ การให้คำปรึกษาและทรัพยากร ความอิสระ ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ พยาบาลในฐานะที่เป็นครู ภาพลักษณ์ของการพยาบาล ความสัมพันธ์ทางสหวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ ต่อมามีการเสนอ Magnet Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง การมอบอำนาจเชิงโครงสร้าง การปฏิบัติทางวิชาชีพที่เป็นแบบอย่าง ความรู้ใหม่ นวัตกรรม และการปรับปรุง และผลลัพธ์เชิงคุณภาพของการปฏิบัติ การนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรพยาบาลจะช่วยให้องค์กรมีความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขการขาดแคลนบุคลากรได้ในระยะยาวเนื่องจากทำให้บุคลากรทางการพยาบาลมีความพึงพอใจในการทำงาน คุณภาพการพยาบาลมีผลลัพธ์ที่ดีและผู้รับบริการมีความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น

คำสำคัญ :  โรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ; การขาดแคลนพยาบาล; การพัฒนาองค์กร

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี; อีเมล์ติดต่อ : kanyarat@bcns.ac.th



Magnet Hospital: Guideline for Organization Development  

          Kanyarat Ubolwan *

Abstract

Nursing shortage is an ongoing critical issue that has occurred  in many countries. In 1980, the American Academy of Nursing (AAN) studied how hospitals retain nurses to work in the hospitals. The study showed that all hospitals had three common components and 14 forces of magnetism. The former included nursing administration, professional practice, and professional development.  The latter comprised quality of nursing leadership, organization structure, management style, personnel policies and programs, professional models of care, quality of care, quality improvement, consultation and resources, autonomy, communities and the healthcare organizations, nurses as teachers, the image of nursing, interdisciplinary relationships, and professional development. Later, the magnet model was developed to include five complements, namely leadership for change, structural empowerment, professional practice role model, new knowledge innovation and improvements, and empirical quality results. The magnet hospital model can be used as a strategy to strengthen nursing organizations  and solve the problem of nursing shortages in the long term as the magnet hospital model can increase nurses’ job satisfaction. As a result the quality of nursing care and clients’ satisfactions will be increased. 

Keywords : Magnet hospital; Nursing shortage; Organization development

*Boromarajonani College of Nursing Saraburi; e-mail: kanyarat@bcns.ac.th

Article Details

How to Cite
1.
อุบลวรรณ ก. โรงพยาบาลที่ดึงดูดใจบุคลากร (Magnet Hospital): แนวทางการพัฒนาองค์กร. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Aug. 31 [cited 2024 Dec. 28];26(2):1-10. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/65664
Section
บทความวิชาการ