ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลผ่านหนังสือการ์ตูนสามมิติ ต่อความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของเด็กก่อนวัยเรียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลผ่านหนังสือการ์ตูนสามมิติต่อความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังให้ความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างคือ เด็กก่อนวัยเรียนที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) ชุดโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อ ประกอบด้วยหนังสือการ์ตูนสามมิติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อและแผนการสอนเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ และ3) แบบวัดความรู้ชนิดรูปภาพเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ โดยแบบวัดความรู้ผ่านการทดสอบความตรงและทดสอบความเที่ยงได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.84 สถิติการทดสอบค่าเฉลี่ย2กลุ่มโดยใช้
t-test ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของเด็กวัยก่อนเรียน
ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่าง
- ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้หนังสือการ์ตูน
สามมิติของเด็กวัยก่อนเรียนในกลุ่มทดลองระหว่างก่อนได้รับความรู้และหลังได้รับความรู้ 4 สัปดาห์ พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของเด็กวัยก่อนเรียน
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลัง 4 สัปดาห์ พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางและวางแผนในการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนและการผลิตสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้
คำสำคัญ : หนังสือการ์ตูนสามมิติ; การป้องกันการติดเชื้อ; เด็กก่อนวัยเรียน; การพยาบาลเด็ก
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี; อีเมล์ติดต่อ : maccjaruwan@gmail.com
The effects of an instructional program using three-dimensional comic book on knowledge about infection control of preschool children.
Jaruwan Sanongyard*
Wilawan Dhanawan*
Yukon Maungchang*
Abstract
This quasi-experimental research study with a randomized two group pretest – posttest design, aimed to investigate the effects of an instructional program using three-dimensional comic book on knowledge about infection control of preschool children. The knowledge of the sample was compared between before and after the experiment and between the experimental group and the control group. The sample consisted of preschool children at the Child Development Center of Tambon Sanamchai Administrative Office. The experimental group and the control group consisted of 35 children each. The research tools were composed of two components 1) the data collecting tool composed of the questionnaire about demographic data and knowledge test using pictures and 2) the instructional program about infection control using a three-dimensional comic book with lesson plans for HIV prevention. The knowledge test was approved for validity and reliability of 0.84. Independent and paired t-tests were used for data comparison. The study found that:
1. A comparison of the average knowledge in infection control of preschool children before entering the experimental group and the control group were not significantly different.
2. A comparison of the mean score of knowledge of infection control by using a three-dimensional comic book for preschool children in the experimental group was significantly different after four weeks (p<0.01).
3. A comparison of the average score of knowledge of infection control of preschool children between the experimental group and the control group after four weeks found that the difference was statistically significant (p<0.05).
The findings can be used for guideline and care plan for preschool children. This information is also useful for the production of teaching materials appropriate to the age group of the children.
Keyword : three-dimensional comic book; infection control; preschool children; pediatric nursing
* Boromarajonani College of Nursing Suphanburi; e-mail : maccjaruwan@gmail.comArticle Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้