ผลของการฟังดนตรีตามชอบต่อความปวดและสัญญาณชีพ ในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้อง

Main Article Content

อัจฉราพร โชติพนัง
อวยพร ภัทรภักดีกุล

Abstract

 บทคัดย่อ        

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความปวดและสัญญาณชีพในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้องระหว่างกลุ่มฟังดนตรีตามชอบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 90 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 45 ราย กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ฟังดนตรีตามชอบ กลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ข้อมูลความปวดและสัญญาณชีพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องเล่น MP3 ที่บันทึกดนตรีตามชอบจำนวน 4 ชุดได้แก่ ลูกทุ่ง ลูกกรุง บรรเลงทั่วไปและบรรเลงไทยเดิม การทดลองเริ่มในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ใช้เวลาในการทดลอง 30 นาที 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความปวด สัญญาณชีพโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบไคสแควร์และทดสอบค่าทีอิสระ

          ผลการวิจัย พบว่าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับความปวดหลังผ่าตัดทั้ง 2 ครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.002 และ 0.02 ตามลำดับ โดยกลุ่มทดลองมีระดับความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพแม้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ความดันโลหิตซีสโตลิกและไดแอสโตลิก ชีพจร การหายใจในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือ พยาบาลควรจัดให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องได้ฟังดนตรีตามชอบ นอกจากนี้สามารถปรับใช้กับกลุ่มผู้ป่วยอื่นที่มีลักษณะการผ่าตัดใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้

คำสำคัญ : ดนตรีตามชอบ; ความปวด; ผ่าตัดช่องท้องทางนรีเวช

*โรงพยาบาลสงขลานครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; อีเมล์ : catchara@medicine.psu.ac.


The Effects of Listening to Favorite Music on Pain and Vital Signs in Gynecologic Patients after Abdominal surgery

Atcharaporn Chotpanang*

Uaiporn Pattrapakdikul*

Abstract

         

     The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of listening to favorite music  on pain and vital signs in gynecologic patients after abdominal surgery. The sample of 90 abdominal hysterectomy patients was drawn by carefully selected criteria from a patient population admitted for abdominal hysterectomy from June to October 2010. The patients were randomly assigned into 2 groups: the experimental group who listened to their favorite music and the control group who did not. The collected data consisted of 4 parts: demographic, treatment, pain scores and vital signs. The experimental instrument was media player (MP3) with 4 types of favourite music: country, popular, classic and Thai classic songs. The intervention commenced 24 hours after surgery. The experimental group was assigned to listen to music for 30 minutes for two times. Data were collected and analyzed using mean, standard deviation, independent t-test and chi square test.       

   The results revealed that pain scores of two measurements between the two groups were statistically significant difference (p = 0.002 and 0.02 respectively).The experimental group had less pain than the control group. Vital signs were not statistically significant different but marginally differed between the two groups.

          We suggest that the postoperative abdominal surgery patients should be provided with their favorite music. The outcome of our study theoretically applies to  other surgical patients.

Keywords : Favorite music; pain; gynecologic abdominal surgery

* Songklanagarind Hospital, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University; e-mail : catchara@medicine.psu.ac.th

Article Details

How to Cite
1.
โชติพนัง อ, ภัทรภักดีกุล อ. ผลของการฟังดนตรีตามชอบต่อความปวดและสัญญาณชีพ ในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้อง. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Aug. 31 [cited 2024 Nov. 23];26(2):43-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/65675
Section
บทความวิจัย