สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์
นิสาชล นาคกุล
วิชญา โรจนรักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำนวน 208 คนและผู้ดูแลจำนวน 202 คน ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Bathel ADL) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 และ 0.97 ตามลำดับ และแบบสอบถามปัญหาและความต้องการผู้ให้การดูแลที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

           ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเป็นเพศชายร้อยละ 53.85 มีอายุมากกว่า 81 ปีมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 36.53 มีระยะเวลาการเจ็บป่วยอยู่ในระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 45.67 กลุ่มตัวอย่างมีภาวะเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง ร้อยละ 70.19 มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยู่ในระดับพึ่งพาโดยสมบูรณ์ ร้อยละ 51.44 และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 50.75  2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุอยู่ในช่วง 31-50 ปี ร้อยละ 41.58 ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในฐานะบุตรและสามีหรือภรรยา คิดเป็นร้อยละ36.13 มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 36.13 และมีรายได้เพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 46.04 ทั้งนี้มีผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแล ร้อยละ 2.88 3) ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนรายด้านพบปัญหาของผู้ดูแล ด้านการดูแลผู้ป่วย และด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับน้อย ขณะที่ความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง  โดยที่ด้านการจัดการภายในบ้านอยู่ในระดับน้อยที่สุดและด้านค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับปานกลาง  

คำสำคัญ : ปัญหาและความต้องการดูแล; ผู้ดูแล; ผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง

*สนับสนุนทุนการวิจัยจากสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

**วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี; อีเมล์ติดต่อ : poungpen99@hotmail.com

***สำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

 

Situations, Problems, and Health care needs for Home-Bound and

Bed-bound chronically ill Patients in Suratthani Municipal Community*

                                                                                  Poungpen Phuaksawat** 

             Nisachon Nakkhun*** 

Witchaya Rotchanarak**

Abstract

          This descriptive research aimed to explore the situations, problems and health care needs of Home-bound and Bed-bound chronically ill patients in Suratthani Municipality. The participants consisted of 208 Home-bound and Bed-bound chronically ill patients, and 202 caregivers who resided in Suratthani Municipality. The research tools was content validated by 5 experts. A structured questionnaire, which included demographic data, Barthel Activities of Daily Living (ADL) Index for chronically ill patients, health perception of chronically ill patients, and problem and health care needs of caregivers who provide care to chronically ill patients, was utilized. Cronbach’s alpha coefficients were tested for reliability and found to be 0.76, 0.97, and 0.95, respectively. Statistical analysis was performed using descriptive statistics.

         The results revealed that: 1) the majority of participants were male (53.85%) and aged over 60 years old. About 36.53% of the participants were aged over 81 years old. The majority of them had duration of illness between 1 to 5 years (45.67%). The percentage of illness condition due to chronic diseases was 70.19%. Chronically ill patients who were completely dependent on caregivers consisted of 51.44% of the sample. Moreover, 50.75% perceived that their health condition remained unchanged. 2) The majority of caregivers were female (53.85%) whose age ranged from 31 to 50 years old (41. 58%), and were typically their children or spouses (36.13%). About 36.13% of the caregivers were casual employees. Most of their family income per month is sufficient but not enough for saving (46.04%). On the other hand, chronically ill patients, who were not being taken care of by a caregiver, were at 2.88%.

3) The overall problems and health care needs of caregivers were found to be at moderate level. The problem of caregivers and  information literacy were found to be at a lower level whereas the health care needs of caregivers was found to be at a moderate level. Lowest levels were rated for housework and basic home maintenance, while the costs were found to be at a moderate level. 

Keywords: Health care needs; caregivers; Home-Bound and Bed-Bound Chronically Patients

* Granted by Public Health Nurse Alumi Associate

**Boromarajonani College of Nursing, Suratthani; e-mail : poungpen99@hotmail.com

***Suratthani Municipal office

 

 

Article Details

How to Cite
1.
เผือกสวัสดิ์ พ, นาคกุล น, โรจนรักษ์ ว. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Aug. 31 [cited 2024 Dec. 28];26(2):54-6. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/65677
Section
บทความวิจัย