การรับรู้ความหมายความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า*
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อบรรยายความหมายความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออก จำนวน 15 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนาเชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงใจความหลัก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ให้ความหมายของการมีคุณค่าในตนเอง สามารถสรุปประเด็นหลักได้ 3 ประเด็น และประเด็นย่อย 8 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1) ได้รับการยอมรับจากภายนอก ประเด็นย่อย คือ ชีวิตคนดี ชีวิตที่มีศักดิ์ศรีและชีวิตที่คิดบวก ประเด็นที่ 2) การได้รับการปฏิบัติเสมือนหนึ่งผู้มีค่า ประเด็นย่อยคือ การได้รับยกย่องให้เป็นผู้นำ และการเป็นที่รัก และประเด็นที่ 3) ภูมิใจในสิ่งที่ฉันทำ ประเด็นย่อย คือ การพึ่งพาตนเอง การอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการสร้างคน
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจในการรับรู้ความหมายความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งพยาบาลและบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
คำสำคัญ : ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า; ความมีคุณค่าในตนเอง
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
**โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสลักเพชร ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด; อีเมล์ติดต่อ : khunthongppk@hotmail.com
***คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
****โรงพยาบาลพุทธโสธร
The Meaning of Self-esteem as Perceived by Older Adults with Depression*
Suphansa Sangphrachan**
Jinjutha Chaisena Dallas***
Pornpat Hengudomsub***
Wetid Pratoomsri****
Abstract
The purpose of this qualitative research study was to understand the meaning of self-esteem in the elderly with depression. Fifteen participants from a province in eastern Thailand were purposively selected. Data were collected using in-depth interview with semi-structured questions and analyzed by thematic analysis.
The findings revealed the meaning of self-esteem as perceived by the elderly with depression in three themes and eight sub-themes. The first theme was being recognized by others consisting of three sub-themes: being a good person, a life with dignity, and a life with positive attitude. The second themewas being treated as valued person composed of two sub-themes: being honored as a leader and being loved. The third theme was being proud of what I am doing comprising 3 sub-themes: self-reliance, dedication to society, and mentoring people.
The findings illustrated the meaning of self-esteem as perceived by the elderly with depression. This knowledge should be of concern to nurses or health care providers to promote self-esteem in the elderly with depression.
Keyword : Elderly with depression; Self-esteem
* Thesis, Master of Nursing Science Program in Mental Health and Psychiatric Nursing
** Registered Nurse, Professional Level ,salakphet Tambon Health Prpmotion Hospital
Kaochangtai district, Amphur Kaochang, Trat province; e-mail : khunthongppk@hotmail.com
*** Faculty of Nursing, Burapha University
****Buddhasothorn Hospital.
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้