การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครนายก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและแผนกศัลยกรรมตามแนวคิดกระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Soukup) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่การค้นหาวิเคราะห์ปัญหา การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การพัฒนารูปแบบการดูแลและทดลองใช้ และการนำไปใช้ปฏิบัติ จากการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว พบว่าผลการวิเคราะห์สถานการณ์หน่วยงานยังไม่มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ครอบคลุมการปฏิบัติทุกกระบวนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ การตัดสินใจในการปฏิบัติการพยาบาลมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของพยาบาลแต่ละคน เมื่อสืบค้นและคัดสรรหลักฐานเชิงประจักษ์พบว่าการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินประกอบด้วยการคัดแยกประเภท การดูแลระยะแรก ระยะต่อมา การเตรียมจำหน่าย การให้ข้อมูลผู้ป่วยหรือญาติและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บใน 72 ชั่วโมงแรกที่แผนกศัลยกรรมสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ บาดเจ็บช่องอก/ช่องท้องและบาดเจ็บหลายระบบ เมื่อมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บและประเมินคุณภาพของรูปแบบแล้วนำไปทดลองใช้ พบว่าสามารถใช้ได้ในสถานการณ์จริง แต่ผู้ปฎิบัติมีความไม่สะดวกในการใช้จึงนำรูปแบบการดูแลมาปรับปรุงโดยให้ผู้ปฏิบัติมีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็น หลังจากนั้นนำมาปฏิบัติจริงและประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแล 2 ระยะคือระยะที่ 1 (พฤศจิกายน 2557-มกราคม 2558) และระยะที่ 2 (กุมภาพันธ์-เมษายน 2558)
ผลลัพธ์การใช้รูปแบบการดูแลพบว่าระยะที่ 2 ดีกว่าระยะที่ 1 ผลลัพธ์ด้านตัวชี้วัดทางคลินิกได้แก่ 1) พยาบาลสามารถคัดแยกประเภทผู้ป่วย ให้การดูแลระยะแรกและระยะต่อมาได้ถูกต้องมากขึ้น 2) ร้อยละของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ GCS ≤ 8 ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจมากขึ้น 3) การเตรียมผู้ป่วยบาดเจ็บส่งผ่าตัดภายใน 1 ชม. ได้เพิ่มขึ้น 4) ผู้ป่วยหรือญาติมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น 5) อุบัติการณ์ความผิดพลาดระหว่างการเคลื่อนย้ายลดลง ผลลัพธ์ด้านกระบวนการ พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการใช้รูปแบบการดูแลและมีการปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ด้านผู้ปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการดูแลอยู่ในระดับมากกว่า จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บตามหลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถนำไปใช้ได้จริง ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งในผู้รับบริการและผู้ให้บริการ
คำสำคัญ : ผู้ป่วยบาดเจ็บ; รูปแบบการดูแล; การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
*โรงพยาบาลนครนายก; อีเมล์ติดต่อ : chantima2501@gmail.com
The Development of an Evidence Based Practice Care Model for Traumatic Injury Patients in Nakhon Nayok Hospital
Chantima Pornchensuanpong*
Pensri La-or*
Kavinat Boonchoo*
Abstract
The purpose of this research and development study was to develop an evidence-based practice care model for traumatic injury patients in the emergency and surgical department using the evidence-based practice process developed by Soukup (2000). The process includes 4 phases, including the evidence-triggered phase, evidence-supported phase, evidence-observed phase, and evidence-based phase. According to the implementation of this process, it was found in the situation analysis that there was not a comprehensive care model in every process of care for patients with traumatic injury, and nursing decision-making was dependent on the different experiences of each nurse. The results of searching and selecting the evidence-based practice revealed that the model of care for patients with traumatic injury in the emergency room included the triage, initial care, and ongoing care including discharge planning, patient or family member education, transfer to an appropriate facility, and the first 72 hours of care at the surgical care unit for head, chest, abdominal, or multiple organ injuries. Initially, the development, validation, and implementation of the model showed that this model was applicable to real situations. However, the practice was not easy. Then, the model was improved by the participation and sharing of nurses’ ideas. Finally, the new developed model was implemented and evaluated in 2 phases: phase 1 (November 2014-January 2015), and phase 2 (February-April 2015).
The findings showed that the clinical indicators of phase 2 were better than those of phase 1. The clinical indicators were 1) the increasing number of nurses performing the task of triage, initial care, and ongoing care, 2) the increasing percentage of the intubation of head injury patients with GCS ≤ 8, 3) the increasing percentage of patients prepared for pre-operation within 1 hour, 4) the increasing score of patients or family members’ satisfaction, and 5) the decreasing incidence rate of transferring patients. The professional nurses demonstrated strongly agree with the model and increasingly performed nursing care using the model. The nurses were satisfied with the use of the model at a high level. It was concluded that the developed evidence-based practice care model for traumatic injury patients was applicable and provided positive outcomes for both clients and healthcare providers.
Keyword: Traumatic Injury; Care Model; Evidence Based Practice
*Nakhon Nayok Hospital; e-mail: chantima2501@gmail.comArticle Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้