การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในยุคประชาคมอาเซียน ผ่านระบบ e-Learning

Main Article Content

พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียน
โสภาพันธ์ สอาด
ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์
วรรณพร บุญเปล่ง

Abstract

บทคัดย่อ         

          การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในยุคประชาคมอาเซียนผ่านระบบ e-Learning   2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเตรียมความพร้อมผ่านระบบ
e-Learning  การดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ  การศึกษาข้อมูลในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาล การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อม  การทดลองใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมและการยืนยันรูปแบบการเตรียมความพร้อม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired sample t-test
         ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการเตรียมความพร้อมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน คือ  1) ปัจจัยนำเข้า มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดจุดมุ่งหมาย  การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ผู้เรียนผู้สอน การออกแบบและพัฒนา และการเตรียมสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน 2) กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย  2.1) ขั้นเตรียม คือปฐมนิเทศและประเมินทักษะผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์  การฝึกปฏิบัติก่อนเรียน  ลงทะเบียนเรียนผู้ใช้งานและการทดสอบก่อนเรียนและ 2.2) ขั้นการเรียนการสอนผ่านระบบ  e-Learning ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก  คือ การ เข้าร่วมชั้นเรียน  ศึกษาวัตถุประสงค์ และคำอธิบายรายวิชา   เรียนรู้เนื้อหา  e –learning และแบบทดสอบท้ายบท โดยมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน 3) ปัจจัยนำออกคือ การประเมินประสิทธิภาพบทเรียนผ่านระบบ  e-Learning และ การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและ 4) ข้อมูลป้อนกลับ
       สำหรับผลของประสิทธิภาพของบทเรียน พบว่ามีคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2) =  83.33/86.53 ส่วนผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้หลังเรียน ( \bar{x}= 7.30, SD = 1.91) มากกว่าก่อนเรียน (\bar{x} = 10.90, SD = 1.93) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -7.341, p<0.001) นอกจากนี้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในยุคประชาคมอาเซียนผ่านระบบ  e-Learning  โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( \bar{x}= 4.46, SD = .53) ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวน 5 ท่าน มีความเห็นว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลได้

 คำสำคัญ : รูปแบบการเตรียมความพร้อม; นักศึกษาพยาบาล; ประชาคมอาเซียน

 * วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี; e-mail : pimpat.chantian@gmail.com


The development of an e-Learning program to prepare nursing students of Phraboromarajchanok Institute for Health Workforce Development

in response to the ASEAN Community

Pimpat Chantian*

Sopapan Saard*

Suparpit von Bormann*

Wannaporn Boonpleng*

                                                       Abstract           

      This research  aimed to: 1) develop an e-Learning program to prepare nursing students o Phraboromarajchanok Institute for Health Workforce Development in response to the ASEAN Community; and 2) evaluate satisfaction of students towards teaching and learning activities through e-Learning. Four steps of program development were employed, including exploring available data regarding preparation of nursing students, developing the program, testing the program, and confirmation of the program. The sample consisted of 30 sophomores. Data were analysed using descriptive statistics and paired sample t-tests.
        Results showed that the program consisted of: 1) input, with six components including problem analysis, setting aims, content analysis, learner and teacher analysis, design and development, and preparation of environment and supporting factors; 2) process of teaching and learning activities, which was composed of 2.1) Preparation Phase including orientation and evaluation of computer skills of the learners, practice, registration, and pre-test, and 2.2) Teaching Phase carried out through e-Learning, including four main steps which were attending class, studying objectives and course outline, studying the contents in e–learning program, and completing the post-test; 3) output, which included evaluation of the efficiency of the program and satisfaction of the learners through e-Learning program; and 4) feedback.

     The e-Learning program had an efficiency at satisfactory level (E1/E2) = 83.33/86.53. Knowledge about ASEAN of the sample was significantly different between the pre-test ( \bar{x}= 7.30, SD = 1.91) and post-test ( \bar{x}= 10.90, SD = 1.93) at (t= -7.341, p<0.001).  The sample was satisfied with the e-Learning program at a high level (\bar{x}= 4.46, SD = .53). Five experts in information and education technology and ASEAN provided a consensus that this e-Learning program is appropriate and can be utilized to prepare nursing students to be ready for ASEAN.

 Keywords : preparation program; nursing student; ASEAN Community

 

 * Boromarajonani College of Nursing Changwat Nonthaburi ; e-mail : pimpat.chantian@gmail.com

Article Details

How to Cite
1.
จันทร์เทียน พ, สอาด โ, โบร์แมนน์ ศโ, บุญเปล่ง ว. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในยุคประชาคมอาเซียน ผ่านระบบ e-Learning. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Aug. 31 [cited 2024 Dec. 28];26(2):154-68. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/65687
Section
บทความวิจัย
Author Biography

พิมพ์พัฒน์ จันทร์เทียน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี