พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพและการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติในประเทศไทย

Main Article Content

กมลรัตน์ (ศักดิ์สมบูรณ์) เทอร์เนอร์
ศุภาพิชญ์ (มณีสาคร) โฟน โบร์แมนน์

Abstract

การเข้าใจพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ  และการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติ เป็นข้อมูลสำคัญในการนำมาพัฒนาการให้บริการสุขภาพแก่ชาวต่างชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ในทวีปเอเชีย  ผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ และการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติ ในประเทศไทย เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบบังเอิญ  เป็นตัวอย่างเป็นชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว หรือถาวร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน ซึ่งคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟา ของครอนบาค  ได้เท่ากับ 0.935 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว (89%) ไม่เคยเจ็บป่วยในรอบ 6 เดือน ส่วนใหญ่เคยใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยด้วยตนเอง (60.75%) ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าเป็นการใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกมากที่สุด (61.73%) และสถานบริการที่กลุ่มตัวอย่างหรือเพื่อนใช้บริการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาคือโรงพยาบาลเอกชน (54.75%) ช่องทางที่ได้รับข้อมูลสุขภาพส่วนใหญ่มาจากคำบอกเล่าของคนในครอบครัวหรือคนรู้จัก (47.75%) การรับรู้ของชาวต่างชาติต่อคุณภาพของการบริการสุขภาพในประเทศไทยโดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 3.80, SD = .50) ยกเว้น ด้านการประสานงานและการให้ข้อมูลซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.34, SD = .64 และ = 3.27, SD = .64 ตามลำดับ)  จากผลการวิจัยครั้งนี้สถานบริการสุขภาพและสถาบันการศึกษาควรนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาบริการสุขภาพ ในด้านการประสานงานโดยปรับปรุงขั้นตอนการรับบริการไม่ให้ยุ่งยาก และพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการในด้านการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ในทวีปเอเชีย

คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ, การรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพ, บริการสุขภาพชาวต่างชาติ

 

Health Service Utilization Behaviors and Quality of Care

Perceived by Foreigners Living In Thailand

Kamolrat (Saksomboon) Turner*

Suparpit (Maneesakorn) Von Bormann**

Abstract

Enhancing the quality and equality of health care services has been globally highlighted for many decades. Understanding health service utilization behaviors and perceived quality of care of foreigners living in Thailand will provide concrete information to promote quality in health services for all, especially when Thailand is aiming to be the medical hub of Asia. A descriptive research design was conducted to investigate health service utilization behaviors and perceived quality of care. The formula of Taro Yamane was performed to identify the sample size of 400 foreigners. A convenience sampling technique was used to recruit foreigners temporary or permanently living in Thailand and residing in the Bangkok Metropolitan area. The instrument used was a self administered questionnaire. The questionnaire was content validated by 3 experts and reliability tested with a Cronbach alpha coefficient of 0.935.. The data were analyzed using percentage and mean.

The results revealed that the majority of the samples had no congenital disease (89%), never been ill within the past 6 months, had direct experience of using health services in Thailand (60.75%), used services at out-patients departments (61.73%) and private hospitals (54.75%). A majority of them received health information by word of mouth.  Most of them had a high level of satisfaction with health services(= 3.80, S.D. = 0.50). Lower levels of satisfaction were rated for coordination and provision of information (= 3.34, SD = 0.64 and = 3.27, SD = 0.64, respectively). The results of this study suggest that the health care settings and educational institutions can use this information to improve the quality of care regarding coordination by introducing simple steps to get care and increase competency of the health care personnel for English communication and this will help prepare Thailand to become a medical hub of Asia.

Keywords : Health Service Utilization Behaviors, Perceived Quality of Care, Health Service for Foreigners

*Director, Boromarajonani College of Nursing Nakhon Ratchasima

**Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing Chang Wat Nonthaburi

Article Details

How to Cite
1.
เทอร์เนอร์ ก (ศักดิ์สมบูรณ์), โฟน โบร์แมนน์ ศ (มณีสาคร). พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพและการรับรู้คุณภาพบริการสุขภาพของชาวต่างชาติในประเทศไทย. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Jul. 2 [cited 2024 Dec. 22];23(1):1-14. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/9816
Section
บทความวิจัย