การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล
Main Article Content
Abstract
การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล เป็นปัญหาด้านอาชีวอนามัยที่สำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน 2) พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยและการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูลแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 323 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน และ 3) ข้อมูลพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเกิดการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่างในช่วงระยะเวลา 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมา เท่ากับ ร้อยละ 74.0 และร้อยละ 60.40 ตามลำดับ โดยในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมาพบการบาดเจ็บบริเวณคอ ร้อยละ 61.08 บริเวณหลังส่วนบนร้อยละ 55.68 และบริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 53.14 ส่วนในช่วง 7 วันที่ผ่านมาพบการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 58.46 บริเวณคอร้อยละ 51.28 และบริเวณหลังส่วนบนร้อยละ50.26 นอกจากนี้ยังพบว่า การบาดเจ็บส่งผลกระทบต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวันของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 17.00 ในด้านพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยเมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ67.50 มีพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยด้านการปรับท่าทางการทำงานในระดับปานกลาง การพักช่วงระหว่างการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.30 การจัดสถานที่ทำงานและอุปกรณ์การทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.9 และการเลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ระดับปานกลางร้อยละ 80.50
นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วงเวลา 12 เดือน ที่ผ่านมา แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านการพักระหว่างการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .028 ( p<0.05 ) และในช่วงเวลา 7 วันที่ผ่านมาพบว่าพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านการพักระหว่างการทำงาน และด้านการจัดสถานที่ทำงานและอุปกรณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับการการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .000 และ.009 (p<0.05) ตามลำดับ
คำสำคัญ : การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย
Work - related Musculoskeletal Injuries and Work Safety Behaviors Among Call Center Workers.
Thitichaya Chalardlon*
Phimlada Anansirikasem**
Abstract
Work - related musculoskeletal injuries among call center workers are a major occupational health issue that has been associated with work characteristics and work safety behaviors. The main purpose of this study was to examine 1) work - related musculoskeletal injuries 2) work safety behaviors, and 3) the association between work safety behaviors and work - related musculoskeletal injury among call center workers. The study participants were 323 registered call center workers in Bangkok province. The instrument used in this study was a questionnaire that consisted of 3 parts: 1) demographic data, 2) work related musculoskeletal injuries modified from the standardized Nordic musculoskeletal disorders, and 3) work safety behaviors developed by the researcher based on a literature review. Data were analyzed by descriptive statistics and relationship was tested by Chi-square.
Results showed that the rates of work related musculoskeletal injuries during the 12 month period and 7 day period were 74.00 % and 60.40%, respectively. For work related musculoskeletal injuries during the 12 month period, it was found that neck had a rate of 61.08%; 55.68% had upper back injuries and 53.14% had lower back injuries. For work related musculoskeletal injuries during the 7 day period, it was found that 58.46% had lower back injuries, 51.28% had neck injuries, and 50.26% had upper back injuries. Additionally, these injuries affected the participants’ work performance and daily life activities for 17.00% respectively. Regarding the work safety behaviors, mild work safety behaviors were considered and found that 67.50 % of participants had work safety behaviors regarding position adjustment, 52.30% had breaks, 88.90% used workstation adjustment, and 80.50% used tools and equipment.
Key word : Work - related musculoskeletal injury, work characteristics and safety work behaviors
*Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj**Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj
Article Details
บทความและรายงานวิจัยในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นความคิดเห็นของ ผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงได้