ความชุกของภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานในนักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน, ความชุกโรคเบาหวาน, นักเรียนชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานในเด็กระดับประถมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วยพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร จำนวนนักเรียนทั้งหมด 140,204 คน ซึ่งอยู่ใน 14 เขตพื้นที่การประถมศึกษา ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน และ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มมาเป็นสัดส่วนกับจำนวนนักเรียนในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย มากที่สุดคือ ร้อยละ 55.56 อายุ 11 ปี ร้อยละ 39.84 กำลังศึกษาอยู่ ป.5ร้อยละ 38.48 นักเรียนอาศัยอยู่กับบิดาและมารดา ร้อยละ 63.96 อาชีพบิดา/มารดาหรือผู้ปกครอง ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 31.17 รายได้ของครอบครัวต่อเดือน มีรายได้ ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 30.62 รายได้ของนักเรียนรวมต่อเดือน รายได้ไม่เกิน 500บาท ร้อยละ 52.03 เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.51 ร้อยละ 35.23 ดัชนีมวลกาย อยู่ในระดับ 23.0-24.9 (น้ำหนักเกิน) ร้อยละ 43.63 รองลงมาคือ อ้วน 25.0-29.9 (อ้วน) ร้อยละ 42.01 และ มากกว่า 30.0 ขึ้นไป (อ้วนมาก) ร้อยละ 14.36 มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 49.59 มีบุคคลในครอบครัวอ้วน ร้อยละ 81.57 มีปื้นดำที่คอ ร้อยละ 35.23 และจากการประเมินคะแนนความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 53.93 ประกอบด้วยระดับเสี่ยงสูงมาก และเสี่ยงสูง ร้อยละ 31.44 และ 24.33 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ไม่เสี่ยง ร้อยละ 44.17 ประกอบด้วย ระดับเสี่ยงค่อนข้างน้อยและปานกลาง ร้อยละ 24.66 และ 19.51 ตามลำดับ
สรุป โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งระดับโลกและระดับประเทศที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย รวมทั้งความชุกของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในเด็กก็มีแนวโน้มสูงขึ้นมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานในกลุ่มเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานสูง และส่งเสริมการปฏิบัติตัวของเด็กและบุคคลในครอบครัวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลดอ้วนลดพุง ซึ่งจะลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในเด็กได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
References
จีรันดา สันติประภพ. (2550). โรคเบาหวานกับเด็ก. [ออนไลน์] ได้จาก http://thainews.prd.go.th [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2550]
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.
เนตรนภา จุฑานันท์, เบญจา มุกตพันธ์. (2556). การบริโภคขนมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นภาพร เหมาะเหม็ง และคณะ. (2558). การสำรวจภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียน ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 17. ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก.
นภาพร เหมาะเหม็ง และคณะ. (2558). การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร. ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก.
บังอร กล่ำสุวรรณ. (2554). ภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนและการสุขาภิบาลอาหารและน้ำในโรงเรียนพื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น.กลุ่มพัฒนาส่งเสริมสุขภาพอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราณี อินทร์ศรี และคณะ. (2558). การพัฒนาคู่มือปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 177-190.
ปุลลวิชช์ ทองแตง, จันทร์จิรา สีสว่าง. (2555). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(3), 287-296.
มโนลี ศรีเปาระยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1), 111-126.
สำนักระบาดวิทยา. (2552). ภาวะอ้วนในนักเรียน ปี 2548-2552. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. กระทรวงสาธารณสุข.
สุทธิชา สายเมือง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาประเทศ, 706-720.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด.
อรองค์ บุรีเลิศ, มาลี ไชยเสนา. (2558). การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(13), 32-34.
American Diabetes Association. (2004). Standards of Medical Care in Diabetes. Diabetes Care, 27, S33-S50.
Anapaula, R., et al. (2013). Metabolic syndrome risk factors in overweight, obese, and extremely obese Brazilian adolescents [online]. from https://repositorio.unesp.br/handle/11449/74530 [Available 22 March 2017]
Buse, J.B., Ginsberg, H.N., Bakris, G.L., et al. (2007). Primary prevention of cardiovascular diseases in people with diabetes mellitus: a scientific statement from the American Heart Association and the American Diabetes Association. Circulation, 115, 114-26.
Christos, P., et al. (2014). Prevention of type II diabetes mellitus in Qatar: Who is at risk? [online]. from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4344980 [Available 22 March 2017]
Ngamjarus, C., Chongsuvivatwong, V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากบรรณาธิการวารสารนี้ก่อนเท่านั้น