ผลทันทีของการฝึกฤๅษีดัดตนต่อความยืดหยุ่นของหลังในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ฤๅษีดัดตน, ความยืดหยุ่น, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของการฝึกฤๅษีดัดตนต่อความยืดหยุ่นของหลังในผู้สูงอายุสุขภาพดีที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยมีกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม และอีก 5 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง ผู้วิจัยจะทำการวัดความยืดหยุ่นของหลังก่อนและหลังการฝึกโดยการนั่งงอตัว (Sit and Reach Test) และใช้สายวัด (Schober Test) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของอาสาสมัคร ใช้สถิติ Kruskal-Wallis H ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่มีแตกต่างระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ one way ANOVA สำหรับวิเคราะห์ความแตกต่างในแต่ละท่า และสถิติ Wil coxon sign range เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังของแต่ละท่า
ผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของแต่ละกลุ่มแต่พบแนวโน้มที่ดีทั้ง 5 ท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการวัดพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการวัดด้วยการนั่งงอตัวในทุกกลุ่มยกเว้นท่าที่ 2 และการวัดด้วยสายวัดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นในกลุ่มควบคุม
กล่าวโดยสรุปการเพิ่มความยืดหยุ่นของหลังในผู้สูงอายุต้องใช้เวลาในการฝึกที่นานกว่าวัยอื่น
References
ภานิชา พงศ์นราทร. (2558). ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนประยุกต์ต่อการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของหลังในผู้ป่วยปวดหลังช่วงล่าง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 13(3), 247-257.
วรรณพร สำราญพัฒน์, ยอดชาย บุญประกอบ, วิชัย อึงพินิจพงศ์, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. (2552). ผลทันทีของการฝึกฤาษีดัดตนแต่ละท่าต่อความยืดหยุ่นของหลัง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1367-1373.
ศิริพร สนิทนิตย์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตนในกลุ่มผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(3), 304-310.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2546). ขยับกายสบายชีวาด้วยกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: องค์การทหารผ่านศึก.
อรวรรณ บุราณรักษ์, วิชัย อึงพินิจพงศ์. (2556). ผลของการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตน แบบชี่กง และแบบผสมผสาน ต่อความเครียด และคุณภาพชีวิต ในผู้หญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 25(3), 281-288.
อัมรินทร์ พ่วงแพ, จักรพงษ์ ขาวถิ่น, ราตรี เรืองไทย. (2553). ผลของการฝึกบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในนักศึกษาหญิงโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 10(1), 163-183.
Buranruk, O., La Grow, S., Ladawan, S., et al. (2010). Thai Yoga as an appropriate alternative physical activity for older adults. Journal of Complementary and Integrative Medicine, 7(1), 1290.
Kawano, M. M., Ambar , G., Oliveira, B. I., et al. (2010). Influence of the gastrocnemius muscle on the sit-and-reach test assessed by angular kinematic analysis. Revista Brasileira De Fisioterapia, 14(1), 10-15.
Luomajoki, H., Kool, J., de Bruin, E., et al. (2010). Improvement in low back movement control, decreased pain and disability, resulting from specific exercise intervention. Sports Medicine Arthroscopy Rehabilitation Therapy and Technology, 23(2), 11.
Mayorga-Vega, D., Merino-Marban, R., Viciana, J. (2014). Criterion-related Validity of sit-and-reach tests for estimating hamstring and lumbar extensibility: a meta-analysis. Journal of Spotrs Science and Medecine, 13(1), 1-14.
Ngowsiri, K., Tanmahasamut, P., Sukonthasab, S. (2014). Rusie Dutton traditional Thai exercise promotes health related physical fitness and quality of life in menopausal women. Complementary Therapies in Clinical Practice, 20, 164-171.
Noradechanant, C., Worsley, A., Groeller, H. (2017). Thai Yoga improves physical function and well-being in older adults: a randomized controlled trial. Journal of Science and Medicine in Sport, 20, 494-501.
Tousignant, M., Poulin, L., Machand, S., Viau, A. and Place, C. (2005). The modified – modified schober test for range of motion assessment of lumbar flexion in patients with low back pain: a study of criterion validity, intra- and inter-rater reliability and minimum metrically detectable change. Journal of Disability and Rehabilitation, 27(10), 553-559.
Wattanathorn, J., Boonterm, T., Thukhummee, W., Muchimapura, S., Wannanon, P., Kaewbutra, S., et al. (2012). Evaluation of Thai style stretching exercise on “Ruesi dud ton” on physical health and oxidative stress in healthy volunteer. Online Journal of Biological Sciences, 12(4), 134-141.
Wells, D. (2012). Reusi Dot Ton: The Thai hermit's exercise. Yoga Mimamsa, 44(2), 1-18.
Yoadsomsuay, P., Kietinun, S., Pattaraarchachai, J., Neimpoog, S. (2006). The effect of an ascetic exercise program on the physical performance of the elderly in Tambon Kukot, Lumlookka district, Pathumthani province. Thammasat Medical Journal, 6(2), 158-167.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากบรรณาธิการวารสารนี้ก่อนเท่านั้น