การเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • สุขสถาพร จันทมาศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ราณี วงศ์คงเดช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิรันดร์ อินทรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและความตั้งใจในการป้องกันโรคเอดส์ หลังได้รับโปรแกรมป้องกันโรคเอดส์ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีอาสาสมัครงานวิจัยเข้าร่วมทั้งหมด 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 42 คน วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมเข้าค่ายตามโปรแกรมการเรียนรู้จำนวน  2 วัน และมีการประเมินผลก่อนและหลังได้รับโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะบุคคล พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบผลของโปรแกรมด้วยสถิติ paired samples t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเอดส์และการป้องกัน ทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์เชิงบวก และความตั้งใจในการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์สูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง (4.86, 1.05 และ 0.19 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (4.19, 1.07 และ 0.19 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)       

สรุป โปรแกรมการเรียนรู้เพื่อป้องกันโรคเอดส์ มีประสิทธิผล สามารถเพิ่มความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันโรคเอดส์ได้ จึงควรมีการขยายผลการศึกษาในพื้นที่อื่นหรือนักศึกษากลุ่มอื่น และประเมินผลในระยะ 3 เดือน 6 เดือน เพื่อดูความคงทนของพฤติกรรมเชิงบวกในการป้องกันโรคเอดส์

References

กมแพง พันทะวง. (2553). ผลโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และกระบวนการกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุไรรัตน์ ชาญพิชิต. (2558). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนวัยรุ่นชายในสังกัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิรินธน์ ประทีปแก้ว, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. (2558). โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. รายงานการประชุม: วันที่ 14–16 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์มบีช โฮเต็ล แอนด์รีสอร์ท เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี.

มะยุรี อิทธิกุล, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2558). การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความสามารถตนเอง เพื่อป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 25-32.

ศูนย์กลางชาวหนุ่ม ประชาชนปฏิวัติลาว. (2014). การวิจัยสถานการณ์วัยรุ่นและเยาวชน ใน สปป ลาว ปี พ.ศ. 2014 (Final Laos_AYSA Report 2014). ศูนย์กลางชาวหนุ่ม ประชาชน ปฏิวัติลาว.

ศูนย์ต้านเอดส์แขวงคำม่วน โรงพยาบาลแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2017). รายงานการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีผู้ที่ลงทะเบียน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2013–สิงหาคม.

สุขสมร ทองมีชัย. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน นครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

WHO. (2017). 10 facts on HIV/AIDS. [online]. from: www.who.int/features/factfiles/hiv/en/ [Available 29 November 2017]
UNAIDS. (2016). LAO PDR COUNTRY PROGRESS REPORT Global AIDS Response Progress Country Report.

Sheridan, S., Phimphachanh, C., Chanlivong, N., Manivong, S., Khamsyvolsvong, S., Lattanavong, P., Sisouk, T., Toledo, C., Scherzer, M., Toole, M., Griensven, F.V. HIV prevalence and risk behaviour among men who have sex with men in Vientiane Capital, Lao People’s Democratic Republic, 2007. AIDS, 23(3), 409–414.

Jahanfar, S., Lye, M.S., Rampal, L., (2009). A randomized controlled trial of peer-adult-led intervention on improvement of knowledge, attitudes and behaviour of university students regarding HIV/AIDS in Malaysia. (Department of Public Health, Royal College of Medicine Perak, University Kuala Lumpur. Singapore Med J, 50(2), 173-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-08

How to Cite

จันทมาศ ส., วงศ์คงเดช ร., & อินทรัตน์ น. (2019). การเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 174–184. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/171109