ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกในสมุนไพรและตำรับยาพื้นบ้าน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ พุ่มทอง คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จินตนา จุลทัศน์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ศรัณย์ ฉวีรักษ์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สารฟีนอล, โรคเบาหวาน, สมุนไพร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของสมุนไพรและตำรับยาพื้นบ้านเพื่อเป็นข้อมูลในการคัดเลือกสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ โดยศึกษาฤทธิ์การต้านสารอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ซึ่งสารอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุของการทำลายองค์ประกอบต่าง ๆ ของเซลล์และทำให้เกิดภาวะการต้านอินซูลินของเซลล์ รวมถึงศึกษาปริมาณสารฟีนอลในสมุนไพร ซึ่งสารนี้เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและฤทธิ์การยับยั้งการเกิดไกลเคชั่น รวมถึงฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของอินซูลินเพื่อนำกลูโคสจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์

                ตำรับยาไทยพื้นบ้าน 2 สูตร คือสูตรยาต้มของโรงพยาบาลกุดชุม และสูตรยาจากตำรายาแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทยพื้นบ้านอีสาน 4 ชนิด คือใบมะม่วงอ่อน ใบทับทิม ใบติ้ว และใบกระโดน สมุนไพรถูกนำมาสกัดด้วยน้ำและเอทธานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 ศึกษาฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ 2 วิธีคือวิธี DPPH และ วิธี FRAP ซึ่งแตกต่างกันในคุณสมบัติการต้านสารอนุมูลอิสระ และวัดปริมาณสารฟีนอลโดยวิธี Folin-Ciocalteu reagent ผลการศึกษาพบว่าสูตรตำรับยาต้มของโรงพยาบาลกุดชุม ที่ประกอบด้วยสารสกัดจากน้ำต้มเถาโคคลาน ใบสะเดา และเถาบอระเพ็ด ในอัตราส่วน 75:20:5 มีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลในระดับที่สูง เป็นสูตรที่มีความเหมาะสมในการที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ช่วยลดการเกิดโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เมื่อได้ศึกษาข้อมูลองค์ประกอบของสารต่าง ๆ และการออกฤทธิ์จากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด พบว่ามีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาต่อยอดเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์ของสารองค์ประกอบจากสมุนไพรเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้และช่วยลดการเกิดโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ดี 

References

Chawla, D., Bansal, S., Banerjee, BD., et al. (2014). Role of advanced glycation end product (AGE)-induced receptor (RAGE) expression in diabetic vascular complications. Microvascular Research. 95, 1–6.

Faradianna E. Lokman, Harvest F. Gu, Wan Nazaimoon, Wan Mohamud, et al. (2013). Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. V. 2013, Article ID 727602: 1-7.

Hasan, MM., Uddin, N., Hasan, MR., et al. (2014). Analgesic and Anti-Inflammatory Activities of Leaf Extract of Mallotus repandus (Willd.) Muell. Arg. BioMed Research International. V. 2014: 1-7.

K. Satyanarayana, K. Sravanthi2, I. Anand Shaker, & R. Ponnulakshmi. (2015). Molecular approach to identify antidiabetic potential of Azadirachta indica. Journal of Ayurveda & Integrative Medicine. 6(3): 165-174.

Langrand J, Regnault H, Cachet X, Bouzidi C, Villa AF, Serfaty L, Garnier R, & Michel S. (2014). Toxic hepatitis induced by a herbal medicine: Tinospora crispa. Phytomedicine. 21(8-9):1120-1123.

Lin JM, Lin CC, Chen MF, Ujiie T, & Takada A. (1995). Scavenging effects of Mallotus repandus on active oxygen species.
J Ethnopharmacol. 46(3):175-81.

Mao, JT., Xue, B., Smoake, J., Lu, Q Y., Park, H., et al. (2016). MicroRNA-19a/b mediates grape seed procyanidin extract-induced anti-neoplastic effects against lung cancer. Journal of Nutritional Biochemistry, 34, 118–125.

Md. Rakib Hasan, Nizam Uddin, Md. Monir Hossain, et al. (2014). In vitro α-amylase inhibitory activity and in vivo hypoglycemic effect of ethyl acetate extract of Mallotus repandus (Willd.) Muell. stem in rat model. Journal of Coastal Life Medicine. 2(9):721-726.

Mohammad A. & Alzohairy. (2016). Therapeutics Role of Azadirachta indica (Neem) and Their Active Constituents in Diseases Prevention and Treatment. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. V. 2016, Article ID 7382506, 1-11.

Mukherjee, S., Phatak, D., Parikh, J., et al. (2012). Antiglycation and antioxidant activity of a rare medicinal orchid Dendrobium aqueum Lindl. Medicinal Chemistry & Drug Discovery. 2(2): 46-54.

Pumthong G, Nathasonb, A., Tuseewan, M., et al. (2015). Complementary and alternative medicines for diabetes mellitus management in ASEAN countries. Complementary Therapies in Medicine. 23: 617—625.

Ramkissoon, J.S., Mahomoodally, M.F., Ahmed, N., & Subratty. AH. (2013). Antioxidant and anti-glycation activities correlates with phenolic composition of tropical medicinal herbs. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine. 6(7): 561-9.

Thomas A, Rajesh EK, & Kumar DS. (2016). The Significance of Tinospora crispa in Treatment of Diabetes Mellitus. Phytother Res. 30(3): 357-66.

Unoki, H., Bujo, H., Yamagishi, S., et al. (2007). Advanced glycation end products attenuate cellular insulin sensitivity by increasing the generation of intracellular reactive oxygen species in adipocytes. Diabetes Research and Clinical Practice. 76, 236–244.

Wu, C., Huang, S., Lin, J., & Yen, G. (2011). Inhibition of advanced glycation end product formation by foodstuffs. Food and Function. 2, 224–234.

Yildirim, A., Mavi, A. & Kara, A.A. (2001). Determination of antioxidant and antimicrobial activities of Rumexcrispus L. extracts. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 49 (8): 4083-4089.

Yuan, H., Zhu, X., Wang, W., Meng, L., Chen, D., & Zhang, C. (2016). Hypoglycemic and anti-inflammatory effects of sea buckthorn seed protein in diabetic ICR mice. Food & Function. 7, 1610–1615.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-26