การพัฒนารูปแบบเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล: กรณีศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กัปปิยะ ปาณิวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงครามชัย ลีทองดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รับขวัญ เชื้อลี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, การบริบาลเภสัชกรรม, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนารูปแบบการบริบาลเภสัชกรรมเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการบริบาลเภสัชกรรมและ แนวคิดการเข้าถึงยาอย่างสมเหตุผลกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคุณสมบัติ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon Signed Rank Test ส่วนข้อมูล
เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดย การสังเกตและบันทึก และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่าขั้นตอนการพัฒนาครั้งนี้มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) การแต่งตั้งคณะทำงาน 3) การรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล 4) การวางแผนงาน 5) การดำเนินการตามแผน 6) การสังเกตและติดตาม 7) การประเมินผล และ 8) ถอดบทเรียน ภายหลังได้ปฏิบัติตามกระบวนการดังกล่าวพบว่า ผู้ให้บริการมีความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการจัดบริการเพื่อการใช้ยาอย่าง สมเหตุผลดีขึ้น และส่งผลให้โรงพยาบาลผ่านการประเมินตัวชี้วัดด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเด็นสำคัญแม้ว่าจะมีบางตัวชี้วัดบางประการที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้ค้นพบรูปแบบเบื้องต้นเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่เรียกว่า TEAM-FC มีหลักการคือ “ข้อมูลดี มีหลักฐานเชิงประจักษ์ สรรสร้างความตระหนักรู้ ติดตามดูแล สะท้อนแก้ปัญหาด้วยทีม”

โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งนี้ คือการมีส่วนร่วมและร่วมมือกันของทีมสหวิชาชีพในทุกระดับในพื้นที่ การมีระบบสะท้อนกลับข้อมูลโดยอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ การมีและยอมรับแนวทางเวชปฏิบัติร่วมกัน รวมถึงการมีนโยบาย สนับสนุนทั้งในระดับจังหวัด และในระดับกระทรวงสาธารณสุข

References

กิติวรรณ จรรยาสุธิวงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้ระบบสุขภาพอําเภอในศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กองบริหารการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (9 พ.ศ. 2560 – 2564)กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

งานพัฒนาองค์กรกลุ่มงานยุทธศาสตร์ กองบริหารการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2560). คู่มือการบริหารแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan): งานประชุมวิชาการกองบริหารการสาธารณสุข โรงแรมไอธารารีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดเพชรบุรี.

จิรพรรณ์ สวัสดิพน. (2556). การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและการดูแลอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อลดการกลับมาเสพซาของผีผานการสารเสพติดของชุมชนบ้านสนบ ตําบลดม อําเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัชลิต รัตรสาร. (2556). การระบาดของโรคเบาหวานและผลกระทบต่อประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2560. จาก UFL. https://www.dmthai.org

เพชร รอดอารีย์. (2550). ผลกระทบของโรคเบาหวานต่อสุขภาพและความเจ็บป่วย. (บ.ก.), สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิวัฒน์การพิมพ์.

โรงพยาบาลน้ำยืน. (2559). สรุปผลงานโรงพยาบาลน้ำยืนอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลน้ำยืน อําเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี.

วรรณี นิธิยานันท์. (2560). คนไทยป่วย “เบาหวาน” พุ่ง ป่วยแล้ว 5 ล้าน ทําให้เกิดโรคแทรกซ้อน พบบ่อย “ไตเรื้อรัง” ค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560จาก UFL. https://www.hfocus.org.

สุนทรี กาวิละ. (2561). ผลการดําเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเครือข่ายบริการสุขภาพ อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี. ค้นเมื่อวันที่ 10กรกฎาคม 2561. เข้าถึงได้ จาก URL https://host.noph.go.th

อภิชาต ทองมนต์. (2560). ผลลัพธ์การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เดชอุดม. ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561. จาก URL. www.detudomhospital.org.

Kemmis. S. and McTaggart, R. (1990). The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong : Deakin University Press. [online]. Available.pdf [access 22 September 2018]. from. URL www.chs.ubc.ca/lprv/OutputPDF/PAR-BibPart2-Cain Apr01.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-26