ผลของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียง โดยการมีส่วนร่วม ของญาติอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จิตร มั่งมี โรงพยาบาลนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง, การมีส่วนร่วม, ญาติผู้ดูแล, โปรแกรมการจัดการการดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุมีจำนวนมากและสถิติผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยทำให้มีสถานะภาพติดบ้านติดเตียงเพิ่มสูงขึ้นนั้น หากผู้สูงอายุเหล่านี้ได้รับการดูแลที่ดีก็สามารถดำรงชีวิตได้ดีตามอัตภาพมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจดี ไม่ทุกข์ทรมานจากความเสื่อมถอยของร่างกายและไม่เป็นภาระของบุตรหลานผู้ดูแลมาก ผู้วิจัยจึงศึกษาวิจัยผลของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของญาติผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียง โดยใช้โปรแกรมจัดการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียง มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมของญาติในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียงระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 92 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 46 คน ที่ได้จากการคัดเลือกมาทั้งหมดตามจำนวนที่มีและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมจัดการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรม มีค่าความเชื่อมั่น 0.80, 0.81 และแบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดบ้านติดเตียง เก็บข้อมูลก่อนและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Paired Sample  t-test  และ Independent t-test

                   ผลการวิจัยภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.04 คะแนน ส่วนระดับความรู้ภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 1.36 คะแนน คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมของกลุ่มทดลองสูงมากกว่ากลุ่มคบคุม 3.73 คะแนน ส่วนระดับพฤติกรรมกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 4.23 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการทดลอง พบว่าภาวะพึ่งพารุนแรงหลังการทดลองลดลงจาก 10 ราย เหลือ 6 ราย โดยใน 4 รายนี้ได้เปลี่ยนจากภาวะพึ่งพารุนแรงเป็นพึ่งพาปานกลาง ทำให้หลังการทดลองมีผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพดีขึ้น จำนวน 4 ราย

References

จินตรา เดชบุรัมย์และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์.

ช่อทิพย์ จันทรา. (2559). ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลหลักในการดูแลด้านโภชนาการและการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ในผู้สูงอายุติดเตียง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3): 41-50.

เชียง เภาชิต. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94): 112-127.

ธนัมพร ทองลอง. (2559). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี. อุดรธาน: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2559

ประโมทย์ ปราสาทกุล. (2556). ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม 1/2558 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

พิศสมัย บุญเลิศและคณะ. (2559) การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 23(2): 79-87.

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และยุวดี รอดจากภัย. (2557). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติงบประมาณแผ่นดิน.
สุรัตน์ ตะภาและคณะ. (2559). การพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 17(1): 109-120.

สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ. (2540). การศึกษาวิเคราะห์ ความต้องการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองไม่ได้ ในอีก 2 ทศวรรษหน้า. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวง. 20(2).

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารู้แบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร
มหาวิทยานราธิวาสราชนครินทร์. 9(3): 57-69.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม.

สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี. (2560). รายงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2560. อุบลราชธานี: สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาเยีย. (2560). รายงานผลการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาเยีย พ.ศ. 2560. อำเภอนาเยีย: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาเยีย.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

ยุวดี รอดจากภัย และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนและครอบครัวต้นแบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติงบประมาณแผ่นดิน.

อุไรรัชต์ บุญแท้และคณะ. (2560). สภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภายใต้การดูแลของเครือข่ายชุมชนร่วมกับครอบครัวเสมือน. วารสาร
การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3): 175-185.

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-26