ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 Self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ
คำสำคัญ:
โรคความดันโลหิตสูง, โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self, แรงสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ได้มาโดยการแบ่งแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.80- 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t – test
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม มีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2ส. ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ อยู่ในระดับดี
ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับบริการปกติ (2) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถในตนเอง การกำกับตนเอง การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการปกติ และ
(3) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมีระดับความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามปกติ
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือการให้ ความรู้เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ดุษฏี พงศ์อุดม. (2549). ความสามารถในการดูแลตนเองแรงสนับสนุนทางสังคมและความเครียดของผู้ป่วยโรคความดันโหลิตสูงของโรงพยาบาลแมคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเชทการพิมพ์.
นภาพร ห่วงสุขสกุล. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี.
วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2552). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายฝน กันธมาลี. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิทธา พงษ์พิบูลย์. (2556). การป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุกัญญา คุขุนทด. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2551). ตำราตรวจโรคการรักษาโรคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.
อรอนงค์ บุรีเลิศ. (2556). การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อภิชาติ เจริญยุทธ. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2552). การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สุขขุมวิทการพิมพ์จำกัด.
Bandura, A. (1986). Social foundations thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากบรรณาธิการวารสารนี้ก่อนเท่านั้น