ตัวแบบทำนายอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก ของประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, ตัวแบบวินเตอร์, ตัวแบบบ็อกซ์และเจนกินส์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแบบพยากรณ์จำนวนการเกิดโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการเปรียบเทียบระหว่างตัวแบบการพยากรณ์อนุกรมเวลาของวินเตอร์ และวิธีการของบอกซ์และเจนกินส์ จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2551-2561 ขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบใช้ข้อมูล 120 ค่า และขั้นตอนการประเมินตัวแบบใช้ข้อมูล 12 ค่า
ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบของบ็อกซ์และเจนกินส์ที่ดีที่สุดคือ ARIMA (0,1,0) SARIMA (0,1,0) มีค่า MSE, MAPE และ RMSE ในขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบ เท่ากับ 90.66, 252.95, และ 127.77 ตามลำดับ และในขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้อง เท่ากับ 107.50, 54.72, และ 169.36 ตามลำดับ แต่ก็ยังมีค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่าตัวแบบพยากรณวินเตอร์ ที่มีค่า MSE, MAPE และ RMSE ในขั้นตอนการพัฒนาตัวแบบ เท่ากับ 53.88, 124.59, และ 85.26 ตามลำดับ และในขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้อง เท่ากับ 78.67, 62.11, และ 124.15 ตามลำดับ จากการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 พบว่า มีแนวโน้มการระบาดตั้งแต่ต้นปี และสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เป็นช่วงที่มีการระบาดมากที่สุด
สรุป ตัวแบบพยากรณ์ของวินเตอร์ เป็นตัวแบบที่ดีที่สุดในการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่จะต้องมีการวางแผนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและมีมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
References
กมล กัญญาประสิทธิ์. (2559). การพยากรณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกมนพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2558. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 25(4), 604-14.
กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ: กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค.
ชญามิน บุญมานะและนัท กุลวานิช.(2560). การเปรียบเทียบความแม่นยำของการพยากรณ์ด้วยตัวแบบอนุกรมเวลาแบบผสม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(2), 177-190.
ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. (2555). รูปแบบการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2555. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 20(1), 65-81.
ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ศุขธิดา อุบล. (2549). ไข้เลือดออกเด็งกี่: ไวรัสวิทยา พยาธิกำเนิดจากกลไกภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัย การดูแลรักษา วัคซีน การป้องกันและควบคุม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2561). สถานการณ์ไข้เลือดออกรายสัปดาห์ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.
สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2555). เทคนิคการพยากรณ์เชิงสถิติ. ขอนแก่น: ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Coker, R. J., Hunter, B. M., Rudge, J. W., Liverani, M., & Hanvoravongchai, P. (2011). Emerging infectious diseases in southeast Asia: regional challenges to control. The Lancet, 377(9765), 599–609.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากบรรณาธิการวารสารนี้ก่อนเท่านั้น