การรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อณัญญา ลาลุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สุวรรณี มณีศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาวะสุขภาพ, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 200 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 และแบบแบบสอบถามความสามารถในกิจวัตรขั้นของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 60-70 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72.0 และพบว่าผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีการรับรู้สุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 1.47 และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองได้ตามปกติร้อยละ 89.5 ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การติดตามเป็นระยะ รวมถึงสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

References

จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน.(2553). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3(4), 561-576.
ณัฐฐิตา เพชรประไพ. (2558). การสำรวจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครราชสีม. สงขลานครินทร์เวชสาร. 33(1), 21-30.
นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 21(1), 37-44.
นงนุช โอบะ. (2557). สมรรถภาพทางสมองและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในชนบทไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 9(1), 17-31.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์และคณะ. (2555). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 42(1), 55-65.
พุทธิพร พิธานธนานุกูล. (2561). ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. พยาบาลสาร. 45(1), 12-25.
มะลิสา งามศรี. (2561). การศึกษษการรับรู้คุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(2), 58-69.
รวิพรรดิ พูลลาภ และคณะ. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสีนกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 8(1), 149-158.
วรวุฒิ พัฒน์โภครัตนา.(2558). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะพงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 9(1), 145-153.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. งานสถิติ. (2560) รายงานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560, จาก http://cpho.moph.go.th/wp/?page_id=188
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุลและคณะ. (2541). การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อณัญญา ลาลุน และคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ. ราชาวดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 8(1), 59-69.
อรอนงค์ สัมพัญญู.(2539). การศึกษาปัจจัยพื้นฐาน การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30