ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศศินา สิมพงษ์ คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ศิริกาญน์ อุปสิทธิ์ คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ศิริพร นครลำ คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สิรินารถ ต้นสวรรค์ คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุจิตรา ส่งสุข คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุทธิดา โพธิ์ไทร คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุภาภรณ์ อุ่นจังหาร คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • อทิตยา อาจแก้ว คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • อนงค์นาถ ศรีโกศล คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • วนิดา สายทอง คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์ คณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การรับรู้โอกาสเสี่ยง, การรับรู้ความรุนแรง, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 179 ราย ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยราชธานี ระยะเวลาที่ศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ พ.ศ 2564 เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 เป็นเพศหญิง มีการรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคไวรัสโคโรนา 2019 คิดเป็นร้อยละ 77.65 การรับรู้ความรุนแรงร้อยละ 87.7 การสนับสนุนทางสังคมร้อยละ 96.64 พฤติกรรมการป้องกันโรคร้อยละ 94.97 การสนับสนุนทางสังคมจากผลกระทบโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r= .676 , p < .001 )

จากผลการศึกษา ควรนำผลการวิจัยมากำหนดแนวทางในการป้องกันโรคสำหรับนักศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและควบคุมโรค

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564, จาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/ coronavirus/ situation/situation_no69.pdf.

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 . สืบค้นวันที่ 22 มกราคม พ.ศ 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/?fbclid=IwAR1Huhg5ktwcOSjxMe4sDihE62_zAk8K2P2nb3yK4eGPjpSDMWkEz_FSYo.

กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19). สืบค้นวันที่ 22 มกราคม พ.ศ 2564, จาก https://hpc13.anamai.moph.go.th.

นารีรัตน์ วงศ์สุนทร (2555) ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) ของกลุ่มเสี่ยงตำบลบ้านแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). ผลกระทบโควิด-19 ต่อการจ้างงานในภาคบริการของประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/09/services-sectors-affected-by-the-covid-19.

สมชัย จิตสุชน. (2563). โควิด-19 กระทบใคร กระทบอย่างไร พวกเขารับมือไหวไหม. สืบค้นวันที่ 22 มกราคม

สายสมร เฉลยกิตติ. (2563). ผลกระทบโรคระบาด COVID-19: การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและ การพยาบาล. 36(2), 259.

เสาวภา ทองงาม. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยแยกโรค โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช. 13(3), 223.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี และมนทน์ดวงพัฒน์ อุ่นพรมมี (2552) ความรู้ การรับรู้ภาวะเสี่ยง และพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ในนักศึกษาพยาบาล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

อัจฉรา จั่นเพ็ชร์ และวราภรณ์ ศิวดำรงพงษ์ (2552) ความรู้ การรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-26