การส่งเสริมสมรรถนะในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • กัลยาวีร์ อนนท์จารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุมนทิพย์ บุญเกิด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • บัญญัติ อนนท์จารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สันติ ชิณพันธุ์ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชสีมาฮอสพิทอล

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสมรรถนะ, การควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลก ปัจจุบันในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา มียอดผู้ติดเชื้อต่อวันเพิ่มขึ้นมากกว่าระลอกแรก 2-4 เท่า ส่งผลกระทบต่อชีวิต ระบบสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในเขตชุมชนทั้ง 17 แห่งของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชสีมาฮอสพิทอล ซึ่งเป็นเขตความรับผิดชอบที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บทความนี้นำเสนอสาระสำคัญที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและดำเนินโครงการส่งเสริมสมรรถนะการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึง 1) บทบาทหน้าที่ของ อสม.ในการดำเนินการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด 2) แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะ อสม. ในการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาด และ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพของ อสม. ในการควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ COVID-19

                        สรุป แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของ อสม. ในการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การสร้างทัศนคติที่เหมาะสมต่อกลุ่มผู้ติดเชื้อ และสุดท้ายการฝึกทักษะที่จำเป็นในบทบาทของ อสม. ที่ประกอบด้วยกิจกรรม การล้างมือ การวัดอุณหภูมิ และการใส่-ถอดหน้ากากอนามัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564).บทบาท อสม. กับ Social Distancing .ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564 จาก ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์ไม่ถูกต้อง.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2560.เอกสารเผยแพร่โดย กระทรวงสาธารณสุข.ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก http://hp.anamai.moph.go.th/main.php?filename=select

วิทยา ชินบุตร นภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2021). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (304-316)

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส2019.ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564 จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php

สารานุกรมไทย. (2563). โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส2019. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563 จาก https://th.wikipedia.org/wiki2_2019.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563).คู่มือแนะนำสำหรับ อสม. ในการเคาะประตูเยี่ยมบ้านเพื่อสังเกตอาการโควิด - 19.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.นนทบุรี

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2564). สถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ จังหวัดนครราชสีมา ข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2564. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564 จาก https://covid-19.nakhonratchasima.go.th/news

สำเริง แหยงกระโทก ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ภานุวัฒน์ ปานเกตุ และวรารัตน์ กิจพจน์. (2020).ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเจ้าหน้าที่และอสม.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.นนทบุรี

Bano et al. (2017) Dietary knowledge, Attitude and Practices of Diabetes Patients at Services Hospital Lahore.Int. J. Appl. Sci. Biotechnol. Vol 5(2): 227-236 DOI:10.3126/ijasbt. v5i2.17625

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) Weekly Epidemiological Update and Weekly Operational Update. Retrieved on Sep 24,2020 from https://www.who.int/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29