ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ เสนคำ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • นิรวรรณ แสนโพธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, การจัดการขยะมูลฝอย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม  กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม จำนวน 104 แห่งๆละ 1 คน รวมจำนวน 104 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และทำการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.98  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่ามัธยฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน      และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน    

                ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.01) ประกอบด้วย ปัจจัยการบริหาร ได้แก่ ด้านผู้นำหรือผู้บริหาร  ด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบงานและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน  ด้านงบประมาณ  ด้านอุปกรณ์  ด้านวิธีการดำเนินงาน  ด้านขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยการมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านผู้นำในการปฏิบัติ ด้านความร่วมมือจากชุมชน  ด้านการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และด้านทุนทางสังคม

                ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย ปัจจัยการบริหาร และปัจจัยการมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 48 (Adj.R2 = 0.48, P-value <0.01) โดยเขียนเป็นสมการทำนายได้ ดังนี้

                Y = 17.128 + [0.373*การบริหาร] + [0.358*การมีส่วนร่วม]

                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมในประเด็นปัจจัยการบริหาร ปัจจัยการมีส่วนร่วม
อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสำเร็จและต่อยอดไปสู่ความยั่งยืนในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. กรุงเทพ: บริษัท ธนสิริปริ้นติ้ง จำกัด.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). การจัดการ ลด และคัดแยกขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, จาก http://km.moi.go.th/Cops/CoPs_11/6.cop250263/11.pdf.

กัญญ์ณณัฎฐ์ วชิรหัตถพงศ์. (2560). การมีส่วนร่วมจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนเขตชุมชนเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิตติ มีศิริ. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ 3,4,5 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิระพจน์ สังข์ทอง. (2562). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรมท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้.การประชุมวิชาการด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 11 29 มิถุนายน 2562 ณ อาคารวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เชาวลิต อยู่เกิด, วิจิตรา ศรีสอน และ ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืน:กรณีศึกษารูปแบบการจัดการขยะชุมชนตลาดสดแฮปปี้แลนด์ใหม่ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 712-726.

โซเฟีย เพ็ชรฆาต. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมบนความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิชญาพัลส์ ไชยสมบัติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเชียงยืนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 109-125.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และคณะ. (2563). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการบริหารจัดการขยะชุมชนสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 21(2), 112-127.

สันชัย พรมสิทธิ์, วันทนีย์ แสนภักดี, สัญญา เคณาภูมิ, พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2562). รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 459-482.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า, กฤช เพิ่มทันจิตต์,สุรพล สุยะพรหม. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3), 68-78.

อภิรดี วงศ์ศิริ. (2561). ทุนทางสังคมภายนอกชุมชน:การมีส่วนร่วมของประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์.

Elifson KW, Runyon RP, Haber A. (1990). Fundamentals of Socials Statistics. 2nd ed. New York: McGraw – Hill, Inc.19.

Maplecroft, V. (2019). Waste Generation and Recycling Indices 2019. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, จาdhttps://www.circularonline.co.uk/wpcontent/uploads/2019/07/Verisk_Maplecroft_Waste_Generation_Index_Overview _2019.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

How to Cite

เสนคำ ป. . ., & แสนโพธิ์ น. . (2022). ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 165–175. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/257942