พฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุพันธ์ หนันถา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เจตนิพิฐ สมมาตย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรรณศรี แววงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, ภาวะโภชนาการ, พฤติกรรมการบริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลุ่มตัวอย่าง 265 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน 2566 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.28 อายุ 60 - 69 ปี ร้อยละ 45.28 (Median = 70 ปี) สถานภาพสมรส/คู่ ร้อยละ 56.61 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 92.46 รายได้ของครอบครัวไม่เกิน 6,000 บาท ร้อยละ 50.94 (Median = 6,000 บาท) มีโรคประจำตัว ร้อยละ 58.86 จำนวนฟันแท้น้อยกว่า 10 ซี่ ร้อยละ 42.64 (Median = 14 ซี่) มีระดับคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.60 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 110.82 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเนมาตรฐาน (S.D.) = 8.65 มีภาวะทุพโภชนการ ร้อยละ 64.91 โดยมีโภชนาการเกิน ร้อยละ 47.92 และมีภาวะโภชนาการขาด ร้อยละ 16.98 ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) เฉลี่ย 23.25 ก.ก./เมตร2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 4.67
ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโภชนาการเกินและภาวะโภชนาการขาดในกลุ่มดังกล่าว

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Individual Wellness Plan) สำหรับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1 (2563)(3-12). สำนักงานกิจกรรมโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2565,จาก https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

เกณิกา จันชะนะกิจ. (2019). อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ (Food and Nutrition for the Older adults). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 1-11.

เกียรติยศ จิตทรงบุญ. (2018). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตในช่วง 1 ปี ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารโรง พยาบาลมหาสารคาม, 15(2), 13-22.

คะนึงนิจ ขอดคำ, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2019). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น| KKU Journal for Public Health Research, 62-71.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, อังคณา ศรีสุข, และสหรัฐ เจตมโนรมย์. (2561). คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).คู่มือเรียนรู้วัยสูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 1), (3-12). บริษัทยืนยงการพิมพ์.

ชนาธิป สันติวงศ์. (2022). DASH Diet: อาหารต้านโรคความดันโลหิตสูง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9:วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 16(1), 101-111.

ชวิศา แก้วอนันต์. (2561). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2561: 12(2), 112-119.

ฐนิต วินิจจะกูล, จินต์จุฑา ประสพธรรม, ญาณิศา พุ่มสุทัศน์ และภาสกร สุระผัด. (2563). การทบทวนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับโภชนาการและการกำหนดอาหารในผู้สูงอายุ. วารสารโภชนาการ ปีที่ 55. 55(1), 41-52

ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย พ.บ. โรงพยาบาลเลิดสิน. (2019). การประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน. Journal of The Department of Medical Services, 44(4), 13-15.

ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล, กษม ชนะวงศ์, วีณา อิศรางกูร ณ อยุทธยา, ลัดดา พลพุทธา, & พรพิมล ชูพานิช. (2020). การประเมินภาวะทางโภชนาการของผู้สูงอายุและศักยภาพของพืชท้องถิ่นสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), p46-55.

นันท์นภัส ธนฐากร, & ธนัช กนกเทศ. (2019). โรคอ้วนในผู้สูงอายุ: การประเมินและแนวทางป้องกัน. EAU Heritage Journal Science and Technology, 13(1), 16-26.

พุทธิพร พิธานธนานุกูล. (2022). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรค COVID-19. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 145-159.

ภาพร คล่องกิจเจริญ, วศินา จันทรศิริ, ศริศักดิ์ สุนทรไชย, & ภารดี เต็มเจริญ. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในคลินิกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 15(1), 33-53.

รพี เสียงใหญ่, ภัทระ แสนไชยสุริยา, กนกวรรณ แสนไชยสุริยา, & ไพฑูรย์ เสียงใหญ่. (2018). ความชุกภาวะโลหิตจางและภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งขี้ต่าย ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น| KKU Journal for Public Health Research, 22-29.

วันเพ็ญ นาโสก, & ณิตชา ธรภาโนมัย. (2019). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 14(49), 94-105.

สุชาริณี ศรีสวัสดิ์, ทศพร คำผลศิริ และศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร (Nursing Journal Volume), 48(1), 54-66

สุนทรี ภานุทัต, จำลอง ชูโต, เฉลิม ศรีนันทวรรณ, อำไพวรรณ พุ่มศรีสวัสดิ์, & ทัศนีย์ พฤกษาชีวะ. (2017). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการ. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences, 1(1), 1-14.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). ความต้องการพลังงานและสารอาหารในสูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, https://www.thaihealth.or.th/ความต้องการพลังงานและส-2

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรรายจังหวัด เดือน พฤษภาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565, จากเว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สูงวัยกินอะไรดี ส่งเสริมสุขภาพของอวัยวะที่สำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 1), (2564). พิมพ์ที่บริษัททำด้วยใจ จำกัด, http://nutrition2.anamai.moph.go.th

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2563). คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว(Health Promotion & Prevention Individual Wellness Plan) (สาหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข). (พิมพ์ครั้งที่ 1), (2563).

อมรรัตน์ นธะสิทธิ์ (2559). เอกสารประกอบการสอน โภชนาการและโภชนบำบัด (nutrition and diet therapy), สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565, จากเว็บไซต์: https://www.ubu.ac.th/web/ files_up /00082f2019061117005288.pdf

อัจฉรา ธาตุชัย. (2021). บทบาทพยาบาลในการประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 22(43), 138-147.

Duangjina, T., & Panuthai, S. (2020). การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. Nursing Journal, 47(3), 469-480.

Kaewanun, C. (2018). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. EAU Heritage Journal Science and Technology, 12(2), 112-119.

The Citizen Plus Thai PBS. ฟังเสียงประเทศไทย: ชุมชนรองรับสังคมสูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565, https://thecitizen.plus/node/65113

United Nations thailand. FINANCING SUSTAINABLE DEVELOPMENT AMID CRISES, CONFLICTS, AND BEYOND: A CASE STUDY FROM THAILAND. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565, https://www .who.int/health-topics/ageing#tab=tab_1

World Health Organization. Global Health and Aging. Overview. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565, https://www.who.int/health-topics/ageing#tab=tab_1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

หนันถา ส., สมมาตย์ เ., & แววงาม ว. (2024). พฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(3), 51–60. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/268640