ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนกับจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พันนิภา นวลอนันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วัฒนา ชยธวัช คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

โรคพิษจากเห็ด, สหสัมพันธ์, ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอัตราเสี่ยงในรูปแบบอัตราส่วนอุบัติการณ์ระหว่างปริมาณฝนรายเดือนกับจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดในจังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลปริมาณฝนรวบรวมจากจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และข้อมูลจำนวนจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดโดยรวมรายเดือนรวบรวมจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เป็นข้อมูลรายเดือนระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ทางสถิติด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สันและตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป ประมวลผลด้วยโปรแกรม jamovi
ผลลัพธ์ คือ ปริมาณฝนรายเดือน (ต่ำสุด, รายวันเฉลี่ย, สูงสุด) กับจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดรายเดือนมีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลาง (สหสัมพันธ์เพียร์สัน 0.531, 0.534, และ 0.542, p-value<.001 ตามลำดับ) ตัวแบบทวินามลบที่มีปริมาณฝนรายวันเฉลี่ยรายเดือนเป็นตัวแปรต้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลมากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด 0.434 มีสัมประสิทธิ์ของตัวแบบ คือ อัตราส่วนอุบัติการณ์ ( ) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.001) จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยรายเดือน (Intercept) ที่ 44.27 ราย สัมประสิทธิ์ของปริมาณฝนรายวันเฉลี่ยรายเดือนเท่ากับ 1.01 กล่าวคือ ปริมาณฝนเรายวันเฉลี่ยรายเดือนเพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตร ก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยรายเดือน จำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดของจังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปริมาณฝนรายวันเฉลี่ยรายเดือน เมื่อปริมาณฝนรายวันเฉลี่ยรายเดือนเพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตร จำนวนผู้ป่วยก็จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดรายเดือน

Author Biography

วัฒนา ชยธวัช, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

-

References

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). กรมวิทย์ฯแนะประชาชนโหลดแอพพลิเคชันเห็ดตรวจสอบเห็ดพิษ. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/833

คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน). (2567). ปริมาณฝนเชิงพื้นที่ ข้อมูลฝนเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ที่ผ่านการวิเคราะห์จากข้อมูลตรวจวัดระดับสถานีจากกรมอุตุนิยมวิทยา โดยใช้วิธีการเฉลี่ยเชิงพื้นที่แบบ Inverse Distance Weighted (IDW). ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://data.hii.or.th/dataset/38cbfb06-e174-4653-accd-d491121ba752/resource/120aba77-b0a7-44c0-8043-91124dac45ed/download/spatial-rain-hii.csv

จารุณี ภิลุมวงค์, พัชรินทร์ พงษ์ชัยภูมิ. (2566). เพราะ “เห็ดเผาะ” เพาะได้ ไม่ต้องเผา. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://www.opsmoac.go.th/ubonratchathani-article_prov-preview-451491791800

พงษ์เดช สารการ, ฎลกร จำปาหวาย. (2563). ความครอบคลุมและยืดหยุ่น: ประเด็นที่ควรถูกพิจารณาสeหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไปในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 144-158.

พรพิมล อดัมส์. (2566). ความสำคัญของการขอรับรองจริยธรรมการวิจัย. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://www.tm.mahidol.ac.th/research/images/Channel/slide/S2_ep30_จริยธรรมการวิจัยในคน.pdf

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับโครงการวิจัยที่ไม่เข้าข่ายการวิจัยในคน พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://sp.mahidol.ac.th/th/LAW/policy/2565-MU-Non-Human.pdf. Accessed 5 October 2024.

สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี. (2567). ข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://ubon.nso.go.th/images/statistic-info/Pocket%20Book%20Ubon_67.pdf. Accessed 5 October 2024.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน) ประชากรรายอายุ. นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2567). ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=58

ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). แบบประเมินว่าโครงการวิจัยของท่านเข้าข่ายการวิจัยในคนหรือไม่. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2567, จาก https://sp.mahidol.ac.th/th/ethics-human/forms/checklist/2022-Human%20Research%20Checklist-researcher.pdf. Accessed 5 October 2024.

อุทัย อันพิมพ์, สุขวิทย์ โสภาพล, รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์, ชริดา ปุกหุต. (2560). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาเห็ดพื้นบ้านของชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 156-176.

Bobbitt Z. (2021). What is Incidence Rate Ratio? (Definition & Example). [Internet]. cited 2024 Oct 9, from https://www.statology.org/incidence-rate-ratio/

Chen L, Sun L, Zhang R, Liao N, Qi X, Chen J, Liu T. (2021). Epidemiological analysis of wild mushroom poisoning in Zhejiang province, China, 2016-2018. Food Sci Nutr., 10(1), 60-66. doi: 10.1002/fsn3.2646.

Gallucci M. (2019). GAMLj: General analyses for linear models. [Computer Software]. cited 2024 Oct 9, from https://gamlj.github.io

Gallucci M, Jonathon LJ. Introducing GAMLj: GLM, LME and GZLMs in jamovi. [Internet]. cited 2024 Oct 9, from https://blog.jamovi.org/2018/11/13/introducing-gamlj.html

Hall I, Stephenson SL, Buchanan PK, Yun W. Edible and poisonous mushrooms of the world. Hong Kong: Colorcraft Ltd.; 2003.

Halvorson MA, McCabe CJ, Kim DS, Cao X, King KM. (2022). Making sense of some odd ratios: A tutorial and improvements to present practices in reporting and visualizing quantities of interest for binary and count outcome models. Psychol Addict Behav., 36(3), 284-295. doi: 10.1037/adb0000669.

jamovi stat open now. (2024). jamovi Desktop 2.3.28 Solid. [Computer Software]. cited 2024 Oct 9, from https://www.jamovi.org/download.html.

Schober P, Boer C, Schwarte LA. (2018). Correlation coefficients: appropriate use and interpretation. Anesthesia & Analgesia,126(5), 1763-1768.

Somrithipol S, Pinruan U, Sommai S, Khamsuntorn P, Luangsa-Ard JJ. (2022). Mushroom poisoning in Thailand between 2003 and 2017. Mycoscience, 63(6), 267-273. doi: 10.47371/mycosci.2022.08.003.

STATA. (2024). Incidence-rate ratio calculator. [Internet]. cited 2024 Oct 9, from https://www.stata.com/links/stata-basics/incidence-rate-ratio-calculator/

Sun J. (2023). Mushroom Poisonous Prediction Based on the Logistic Regression Model. Highlights in Science, Engineering and Technology, 57, 173-176.

Walker JA. (2024). Statistics for the Experimental Biologist A Guide to Best (and Worst) Practices. Chapter 20 Generalized linear models I: Count data. [Internet]. cited 2024 Oct 9, from https://www.middleprofessor.com/files/applied-biostatistics_bookdown/_book/generalized-linear-models-i-count-data.html

Xiong S, Wu A, Weng L, Zhang L, Wu M, Li H, et al. (2024). Study on the correlation between the number of mushroom poisoning cases and meteorological factors based on the generalized additive model in Guizhou Province, 2023. BMC Public Health, 24, 2628. https://doi.org/10.1186/s12889-024-20050-6

Yang F, Ma Y, Liu F, Zhao X, Fa C, et al. (2020). Short-term effects of rainfall on childhood hand, foot and mouth disease and related spatial heterogeneity: evidence from 143 cities in mainland China. BMC Public Health, 20, 1528 (2020). https://doi.org/10.1186/s12889-020-09633-1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

นวลอนันต์ พ., & ชยธวัช ว. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนกับจำนวนผู้ป่วยโรคพิษจากเห็ดในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(3), 99–108. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/272017