ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ในพยาบาลวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูกในพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 363 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล วชิรพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 – ธันวาคม พ.ศ.2560 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผิดปกติกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และแบบสอบถามปัจจัยสาเหตุภายในตัวบุคคลต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกัน การรับรู้อุปสรรคการป้องกัน สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ในความสามารถของตนเองในการป้องกัน และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกัน เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล กายภาพบำบัด และพฤติกรรมศาสตร์จำนวน 5 ท่าน ค่าความเที่ยงหรือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามปัจจัยสาเหตุภายในตัวบุคคลเท่ากับ 0.79, 0.87, 0.75, 0.80, 0.85, 0.85 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแคว์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเส้นตรง
ผลการศึกษาพบอัตราความชุกของโรคกล้ามเนื้อและกระดูกร้อยละ 79.1 และพฤติกรรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่ดีร้อยละ 14.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูก (p<0.05) ดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แผนกปฏิบัติงานพยาบาลและระยะเวลาทำงานต่อสัปดาห์ และปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้อุปสรรค สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ และการรับรู้ความสามารถของตนต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันตนเองเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูก โดยปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อและกระดูกในพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 23.4
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานนวดแผนไทย (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล). สืบค้นจาก
http://phpn.ph.mahidol.ac.th/Journal/txt/29_no1/2kanthaphim.pdf.
ชลาลัย ทองพูล. (2552). การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. (พยาบาลศาสาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). สืบค้นจาก
http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=20079&word=2552&check_field=YEAR&select_study=NUOH&condition=2&search=9&philosophy=&master=
ธเนศ สินส่งสุข. (2547). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับการเกิดอาการทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2483
นุชนารถ กันธิยะ. (2552). กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่อจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพ. (พยาบาลศาสาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2553). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.
Becker, M.H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs. 2(4): 354-385.
Kuorinka, I., Jonsson, B., Kibom, A., Vinterberg, H., Biering-Sorensen, F., Andersson, G., & Jorgensen,K. (1987). Standardised Nordic Questionaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Applied Epgonomies, 18(3), 233-237
Nur Azma, B.A., Rusli, B.N., Noah, R.M., Oxley, J.A., & Quek, K.F. (2016). Work Related Musculoskeletal Disorders in Female Nursing Personnel: Prevalence and Impact. International Journal of Collaborative Research on Internal Medicine & Public Health. 8(3), 294-315. Retrieved from
http://internalmedicine.imedpub.com/work-related-musculoskeletal-disorders-in-female-nursing-personnel-prevalence-and-impact.php?aid=9789
Ping, Y. & L. Fuye. 2017. Prevalence of Work-Related Musculoskeletal Disorders in the Nurses Working in Hospitals of Xinjiang Uygur Autonomous Region. Pain Research and Management. Retrieved from http://doi.org/10.1155/2017/5757108
Rutkowski, E.M. & Velez, A. (2016). A program to reduce musculoskeletal disorders and promote health in nursing students. Journal of Nursing Education and Practice. 6(10), 88-92. Retrieved from
http://www.sciedu.ca/journal/index.php/jnep/article/view/9012/5858
Thinkhamrop, W. & Laohasiriwong, W. (2015). Factors Associated with Musculoskeletal Disorders among Registered Nurses: Evidence from the Thai Nurse Cohort Study. Kathmandu Univ Med J, 13(51), 238-243.
Tinubu, B. M., Mbada, C. E., Oyeyemi, A. L., & Fabunmi, A. A. (2010). Work-Related Musculoskeletal Disorders among Nurses in Ibadan, South-west Nigeria: a cross-sectional survey. BMC Musculoskeletal Disorders, Retrieved from
http://doi.org/10.1186/1471-2474-11-12
Sunate Wongthankit. 2004. Factors Related to Low Back Pain Preventive Behavior Among Nursing Personnel in Governmental Hospitals Nonthaburi Province. (Master of Science, Mahidol University).
Yan, P., Li, F., Zhang, L., Yang, Y., Huang, A., Wang, Y., & Yao, H. (2017). Prevalence of Work-Related Musculoskeletal Disorders in the Nurses Working in Hospitals of Xinjiang Uygur Autonomous Region. Pain Research and Management, Retrieved from https://doi.org/10.1155/2017/5757108