ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการลดความอ้วนโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนหลังมีกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการลดน้ำหนักเกินในเด็กโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนจารุวัฒนานุกูล จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและการแบ่งกลุ่มใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากเลือก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการลดภาวะน้ำหนักเกินในเด็กเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามเจตคติต่อพฤติกรรมการลดความอ้วน แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการลดความอ้วน แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการลดความอ้วน แบบสอบถามความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการลดความอ้วน แบบสอบถามพฤติกรรมการลดความอ้วน และแบบบันทึกข้อมูลการชั่งน้ำหนัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test independent t-test ANCOVA และ McNemar chi-square test
ผลการศึกษา พบว่าโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการลดความอ้วนในเด็กมีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการลดภาวะน้ำหนักเกินในเด็กได้ โดยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลอง สามารถปรับเปลี่ยนเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความตั้งใจใฝ่พฤติกรรม และพฤติกรรมการลดความอ้วนดีกว่ากลุ่มควบคุม (p<0.001) และสามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 0.87 กิโลกรัม (95% CI 0.52-1.12; p<0.001) เมื่อเปรียบกับกลุ่มควบคุม การดำเนินโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการลดความอ้วนในเด็กทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อประสิทธิผลการส่งเสริมพฤติกรรมการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักของเด็กอ้วนให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
จิราภรณ์ ชมบุญ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมของเด็กที่เป็นโรคอ้วนโรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ประหยัด สายวิเชียร. (2547). อาหารวัฒนธรรมและสุขภาพ. เชียงใหม่:นนทบุรีการพิมพ์.
พัชราภรณ์ อารีย์ และคณะ. (2550). ภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรม ด้านร่างกายของเด็กวัยรุ่น. พยาบาลสาร, 34(2), 98-105.
วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์. (2551). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ความหนัก 60-75 เปอร์เซ็นต์MHR ต่อสมรรถภาพทางกายของเด็กอ้วน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สมจิตร์ นคราพานิช และคณะ. (2555). โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพฤติกรรมการออกกำลังกายและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(1), 32-50.
สรญา สระทองเทียน. (2555). ออกกำลังกายอย่างไรให้เด็กสุขภาพดี ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก http://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=295
สถาบันพลศึกษา. (2557). การออกกำลังกายในวัยต่างๆ. สืบค้นจากhttp://www.thaihealth.or.th/Content/25238-การออกกำลังกายในวัยต่างๆ.html
สำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ. (2557). สถานการณ์โรคอ้วนคนไทยเป็นโรคอ้วนอันดับ 2 ของอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Content/24745-คนไทยเป็นโรคอ้วนอันดับ%202%20ของอาเซียน.html
Ajzen. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.
Ellis-Stoll, C.C. & Popkess-Vawter, S. (1998). A Concept Analysis on the Process of Empowerment. Advances in Nursing Science, 21(2), 62-68.
Janssen, I., & LeBlanc, A. (2010). Systematic review of the health benefits of physical activity and fitness in school aged children and youth. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 7(40), 1-16.
Shin, Y.H., Hur, H.K., Pender, N.J., Jang, H.J. & Kim, M.S. (2006). Exercise self-efficacy, exercise benefits and barriers, and commitment to a plan for exercise among Korean women with osteoporosis and osteoarthritis. Int J Nurs Stud, 43(1), 3-10.
Thomas, E.L., Makwana, A. Newbould, R., Rao, A. W., Gambarota, G., Frost, G,….Beaver, J. D. (2011). Pragmatic study of orlistat 60 mg on abdominal obesity. European journal of clinical nutrition, 65:1256-1262.
Wolf, A.M., Gortmaker, S.L., Cheung, L., Gray, H.M., Herzog, D.B. & Colditz, G.A. (2003). Activity, inactivity, and obesity: racial, ethnic, and age differences among schoolgirls. Am J Public Health, 83(11), 1625–1627.
World Health Organization. (2011). Obesity. Retrieved 17 December 2016 from http://www.who.int/topics/ obesity/en/
Zecevic, C.A., Tremblay, L., Lovsin, T. & Michel, L. (2010). Parental Influence on Young Children's Physical Activity. International Journal of Pediatrics, http://dx.doi.org/10.1155/2010/468526