สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่ตรงกับหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานและสมรรถนะที่หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานต้องการ ความต้องการจำเป็นของสมรรถนะ และความต้องการการพัฒนาสมรรถนะ ประชากรที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานโรงพยาบาลวชิรพยาบาล จำนวน 92 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2558 เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประเมินสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงาน และแบบสอบถามความต้องการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา t-test และ modified priority needs index
ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยของภาพรวมทั้ง 5 สมรรถนะหลักอยู่ในระดับมากทั้งสมรรถนะที่ตรงกับตนเอง (=3.70+0.68) และสมรรถนะที่ต้องการ (=4.40+0.67) โดยสมรรถนะที่หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานส่วนใหญ่ประเมินว่ามีความต้องการและจำเป็นมากที่สุด ได้แก่ สมรรถนะที่ 2 การบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะด้านการวางแผนและการจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (PNI Modified = 0.3611) และสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงาน คือการอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาลระดับต้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
ธิดาพร ผลฉัตร. (2553). การวิเคราะห์ตัวประกอบสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ปัทมาพร รุ่งพิพัฒนพงศ์ และ ยุพิน อังสุโรจน์. (2552). การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหน่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 21(2), 56-72.
ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. (2556). Competency Job
Mapping (FM-NUR012-026). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
วาณีรัตน์ รุ่งเกียรติกุล. (2554). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ สำนักอนามัย. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2557 จาก http://www.nursing.go.th.
สภาการพยาบาล. (2556). การประชุมวิชาการผู้บริหารการพยาบาลระดับชาติ ครั้งที่ 2 เรื่อง “อนาคตของผู้บริหารและผู้นำการพยาบาล: The 2nd National Nursing Administration Conference on Future of Administrators and leaders” เอกสารการประชุมวันที่ 14-15 มิถุนายน 2556 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร.
สุบิน ยุระรัช. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับการสังเคราะห์งานประเมินงานความต้องการจำเป็น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 32-54.
สุพัฒนี นาคฤทธิ์. (2540). การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในวิทยานิพนธ์ของ
นิสิตคณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ((วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะคุรุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน/หัวหน้าหอผู้ป่วย ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 21-25 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2557 จาก http://www.nursing.go.th.
อวยพร สมใจ, พรทิพย์ เกยุรานนท์ และ เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาล จังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 22(2), 44-56.