ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถ ของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นมารดาของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นมารดากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 ราย มารดากลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ มารดากลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ทำการศึกษาระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน พ.ศ.2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคปอดอักเสบและการดูแล และแบบสอบถามความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่ามารดากลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ มีความรู้และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มมารดาที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
มนัสมีน เจะโนะ. (2555). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อลดภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์มุสลิม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
รัชนี นาคสี. (2553). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลของมารดา ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วันทนีย์ ดวงแก้ว. (2554). ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออาการปากแห้งและ เยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(3), 1 - 16.
ศริญญา ไชยยา. (2558). โรคปอดอักเสบ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558. 47(28), 101 – 103.
ศลิษา วิสุทธิแพทย์. (2547). ปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด, มหาวิทยาลัยมหิดล).
สมฤดี เลิศงามมงคลกุล. (2554). ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
Balyore, A., Lertsuphotvanit, S. & Sareebutara, W. (2007). The knowledge and behavior on prevention of acute respiratory infection (ARIs) in children. Journal of Health Science, 16(4), 597-605.
Evers, G.C., Isenberg, M.A., Philipsen, H., Brouns, G., Halfens, R. & Smeets. H. (1986). The Appraisal of Self-care Agency’s ASA-scale: research program to test reliability and validity. In Proceedings of the International Nursing Research Conference “New Frontiers in Nursing Research”(p. 130). Edmond: University of Alberta.
Gereige, S, Laufer. (2013). Pneumonia. Pediatrics in review, 34(10), 438-456.
Grealish, L. (2000). The skill of coach are an essential element in clinical Learning. Journal of Advance Nursing, 13, 649-661.
Klossner, N. & Hatfield, T. (2010). Introductory maternity & pediatric nursing. Philadelphia: Lippincottwilliu & wilkins.
Orem, D.E. (1995). Nursing: Concept of practice (3 rded). New York:McGraw Hill.
Siswanto, E., Bhuiyan, S.U. & Chompikul, J. (2007). Knowledge and perception of pneumonia disease among mothers of children under five years at attending Nakhon Pathom general hospital, Thailand. Journal of Public Health and Development, 5(2), 43-54.
Sectish, T.C. & Prober, C.G. (2007). Pneumonia. In R.M. Kliegman, R.E. Behrman, H.B. Jenson & B.F. Stanton (Eds). Nelson Textbook of Pediatrics (18thed, p. 1795-99). Philadelphia: Saunders.