การดูแลรักษาอาการปวดข้อศอก
Main Article Content
Abstract
โรคกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกอักเสบ (tennis elbow/ lateral epicondylitis/ lateral epicondylosis) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในแผนกผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ โดยเฉพาะในกลุ่มคนใช้แรงงานทั้งชายและหญิงที่มีรูปแบบการทำงานที่มีการใช้ข้อมือ หรือเกร็งข้อมือกระดกขึ้นๆซ้ำๆบ่อยๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีการฉีกขาดเล็กน้อยแต่เกิดขึ้นซ้ำๆจนเกิดการอักเสบและอาการปวดขึ้น ส่วนใหญ่มักมีอาการในแขนข้างที่ถนัด อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน
รักษาอย่างไรถึงจะหาย
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนเลยว่าธรรมชาติของโรคนี้แท้จริงแล้วสามารถหายได้เองภายในระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 8 ถึง 12 เดือน การรักษาเบื้องต้น คือการรับประทานยาตามอาการประเภทยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ร่วมกับร่วมกับพักการใช้งาน และเมื่ออาการทุเลาลงควรทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองเพื่อช่วยส่งเสริมการหายร่วมการรักษาด้วยยา โดยการนวด ประคบอุ่น และออกกายบริหารกล้ามเนื้อ (ภาพที่ 1) อย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ วันละ 3 รอบ รอบละ 10 ครั้ง และครั้งละ 15-30 วินาที หรือใช้อุปกรณ์รัดแขนเพื่อช่วยกระจายแรงที่มากระทำบริเวณที่ปวด หากทำกายภาพบำบัดแล้วอาการไม่ทุเลา แพทย์อาจพิจารณาทำการฉีดยาต้านการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปในบริเวณที่ปวด การแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม และการผ่าตัดรักษากรณีอาการไม่ดีขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น