ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิด เอ วัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิด เอ วัน กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิด เอ วัน ที่มารับบริการตรวจครรภ์ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลปกติร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้าน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและสมุดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า สตรีตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีสัดส่วนของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้มากกว่าสตรีตั้งครรภ์กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิด เอ วัน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานเพื่อช่วยให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีประสิทธิภาพ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2550). ยาง...ยืดชีวิตพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.
ทิศนา แขมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธนพร วงษ์จันทร. (2543). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงที่เป็นเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
นฤมล ภานุเตชะ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัญญู พันธ์บูรณะ และพงศ์อมร บุนนาค. (2545). โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. ใน แสงชัย พฤทธิพันธุ์, พัญญู พันธ์บูรณะ, และจิตติมา มโนมัย (บรรณาธิการ), ความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา (OB- GYN Update) (น.76- 112). กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. (2553). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(4), 36- 44.
สุชยา ลือวรรณ. (2555). โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. ใน ธีระ ทองสง (บรรณาธิการ), สูติศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5), (น. 425- 438). กรุงเทพฯ: ลักษมีรุ่งจำกัด.
สุธัญญา นวลประสิทธิ์, พวงเพชร วุฒิพงศ์, และกษิรา จันทรมณี. (2553). ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกและญาติผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล, 25(2), 78- 86.
American College of Obstetricians and Gynecologists. (2002). Exercise during pregnancy and the postpartum period (ACOG committee opinion No. 267). Obstetrics and Gynecology, 99(1), 171- 173.
American College of Obstetricians and Gynecologists. (2013). Committee on Practice Bulletin no. 137: Gestational diabetes mellitus. Obstetrics and Gynecology, 122, 406- 416.
American Diabetes Association. (2014). Standards of medical care in diabetes- 2014. Diabetes Care, 37(suppl 1), S14- S80.
Artal, R. (2003). Exercise: the alternative therapeutic intervention for gestational diabetes. Clinical Obstetrics and Gynecology, 40, 479- 487.
Ben- Haroush, A., Yogev, Y., & Hod, M. (2004). Epideminology of gestational diabetes mellitus and its association with type 2 diabetes. Diabetic Medicine, 21(2), 103- 113.
Brankston, G. N., Mitchell, B. F., Ryan, E. A., & Okun, N. B. (2004). Resistance exercise decreases the need for insulin in overweight women with gestational diabetes mellitus. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 190(1), 188- 193.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral science (2nd ed.). New York: Lawrence Erlbaum.
Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Spong, C. Y., Dashe, J. S., Hoffman, B. L, …Sheffield, J. S. (2014). Williams obstetrics (24th ed., pp. 1125- 1146). New York: McGrew- hill.
De Barros, M. C., Lopes, M. A., Francisco, R. P., Sapienza, A. D., & Zugaib, M. (2010). Resistance exercise and glycemic control in women with gestational diabetes mellitus. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 203, 566.e1- 6.
Deerochanawong, C., & Ferrario, A. (2013). Diabetes management in Thailiand: A literature review of the burden, costs, and outcomes. Globalization and Health, 9(11), 1- 18.
Irvine, C., & Taylor, N. F. (2009). Progressive resistance exercise improves glycaemic control in people with type 2 diabetes mellitus: A systematic review. Australian Journal of Physiotherapy, 55, 237- 246.
Limruangrong, P. (2011). A self- regulation program on diet and exercise behaviors in pregnant women with gestational diabetes mellitus. Unpublished doctoral dissertation, Mahidol University. Bangkok, Thailand.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice. (5th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Teeintong, K. (2002). Personal factors, perceived benefits of and perceived barriers to exercise and the exercise behavior of postpartum women. Unpublished master’s thesis, Mahidol University. Bangkok, Thailand.