ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยและคุณภาพการบริการงานผู้ป่วยใน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบายด้วยการสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับคุณภาพการบริการงานผู้ป่วยในตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 228 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการบริการงานผู้ป่วยในตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในเกณฑ์ดี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยในภาพรวมอยู่ในระดับสูงกว่าบรรทัดฐานเล็กน้อย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับคุณภาพการบริการงานผู้ป่วยในตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ(r= 0.305 , p-value ≤ .01) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยสามารถอธิบายความผันแปรคุณภาพการบริการงานผู้ป่วยในตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 9.30 (adjusted R2 = 0.089, p-value < .001) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลน่าจะกำหนดนโยบายสร้าง/พัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นให้หัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นที่ปรึกษาและผู้สอนงาน มีการจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อสนับสนุนคุณภาพการบริการที่ดี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานประจำปี 2556. สืบค้นจาก http://intranet.rama.mahidol.ac.th/rama/Files/annual_report/Annual_Report_2013.pdf. วันที่สืบค้น 2 มีนาคม 2558; 2557.
วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2545). การวิจัยทางการพยาบาล:หลักและแนวปฏิบัติ. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2554). 12 th HA National forum guidebook : ความงามในความหลากหลาย. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).
สุลัดดา พงศ์รัตนามาน. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ พยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
อรทัย รุ่งวชิรา. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินกิจกรรมพัฒนา คุณภาพบริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา).
Avolio, B.J. & Bass, B.M. (2004). Multifactor Leadership Questionnaire (3rded). Redwood City, CA: Mind Garden, Inc.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectation. New York: McGraw-Hill.
Daniel, C.N. & Berinyuy, L.P. (2010). Using the SERVQUAL model to assess service quality and customer satisfaction. Unplished doctoral dissertation. Umea University, Umea.
Jabnoun, N. & Rasasi, A.J.A. (2005). Transformational leadership and service quality in UAE hospitals. Journal of Managing Service Quality, 15(1), 70-81.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L.L. (1990). Delivering quality service : balancing customer perceptions and expectations. New York: The Free Press.
Rouzbahani, M. T., Mahdian, M. J., Garshasb, K & Goudarzi, M. M. (2012). The Study of Relationship between Change-oriented Leadership and the Quality of Services. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 2(11): 11336-40.