สมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง อธิบายปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และบรรยากาศองค์กรกับสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ โดยการคำนวณหาค่า ไค-สแควร์ (Chi-square) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวด้วย การหาอำนาจในการพยากรณ์ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการมีสมรรถนะหลักอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.61, SD = 0.425) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานอยู่ในระดับสูง ( = 3.72, SD = 0.362) และบรรยากาศองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65, SD = 0.349) เมื่อนำตัวแปรอิสระมาหาความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ (r = 0.432) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และ บรรยากาศองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวก กับสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ (r = 0.370, r = 0.365) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). Competency Model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภคินี ศรีสารคาม. (2538). ระดับความสามารถในการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล).
วิลาสินี เชาวลิตดำรง. (2552).สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล).
Brown, W.B. & Mogerg, D.J. (1980). Organization Theory and Management: A Macro Approach. New York: John Wiley and Sons.
Kanter, R.M. (1974). Commiment and community: Communces and utoplas in Socialogical Perspective. Massachusells: Horvard University Press.