การใช้บริการสุขภาพตามสิทธิของผู้สูงอายุ ตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาการใช้บริการสุขภาพตามสิทธิของผู้สูงอายุในตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย อาศัยอยู่ในตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่า 800 บาท การรับรู้สิทธิด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ด้านบริการเยี่ยมบ้านเป็นสิทธิที่รับรู้มากที่สุด และรับรู้ว่าสามารถรับบริการได้ทุกประเภทโดยไม่ต้องชำระเงินหากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคเรื้อรัง แต่มักไม่ทราบว่ามีสิทธิที่จะได้รับบริการดูแลรักษาในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการ มักเข้าใจว่าการลงทะเบียนสิทธิด้านสุขภาพทำเฉพาะที่โรงพยาบาล การเข้าถึงบริการสุขภาพโดยรวมสามารถเข้าถึงบริการในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.56) โดยการเข้าถึงมากที่สุดคือด้านความพอเพียงของบริการที่มีอยู่ (ค่าเฉลี่ย 3.82) ส่วนด้านการเข้าถึงที่ต่ำที่สุดคือด้านความสามารถในการเข้าถึงแหล่งบริการ (ค่าเฉลี่ย 3.27) การใช้บริการสุขภาพส่วนมากตัดสินใจที่จะไม่ใช้บริการสุขภาพตามสิทธิหากมีความเจ็บป่วย (ร้อยละ 68.3) และเหตุผลที่ไม่ใช้ คือเดินทางไม่สะดวก ร้อยละ 31.7 ตัดสินใจที่ใช้บริการสุขภาพตามสิทธิเมื่อมีความเจ็บป่วย เหตุผลเพราะคิดว่าไม่ต้องเสียเงินหรือเสียเงินน้อย (ร้อยละ 12.2) และคิดว่าเพราะสะดวก และอยากให้แพทย์เป็นผู้ตรวจรักษา ลักษณะประชากร ได้แก่ รายได้ประจำต่อเดือน สิทธิด้านสุขภาพ การรับรู้สิทธิ และการเข้าถึงบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการสุขภาพตามสิทธิของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2555). มาตรฐานงานสุขศึกษาโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. นนทบุรี: กองพิมพ์สุขศึกษา.
ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา. (2542). หลักประกันสุขภาพกับความมั่นคงแห่งชาติ: ทางเลือกเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
พนมเทียน พลมณี. (2550) การพัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลคนพิการในชุมชน เขตหนองแขม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชนีภรณ์ ภูกร. (2538). สุขภาพผู้สูงอายุ (Gerontological Health). พิษณุโลก : ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. เล่มที่124 ตอนที่16 ก.
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพ ฯ.
ศรายุทธ์ ตรีรมณ์. (2552). คู่มือการเข้าถึงบริการสิทธิและสุขภาวะของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลถอนสมอ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.).
ศรีจิตรา บุนนาค. (2542). ปัญหาสุขภาพ ภาวะพึ่งพา และแนวนโยบายทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการประชุมวิชาการว่าด้วยผู้สูงอายุ สู่วัยสูงอายุด้วยคุณภาพ วันที่ 22 - 26 พฤศจิกายน 2542 ณ โรงแรม ปริ้นซ์พาเลซ. คณะกรรมการดำเนินจัดกิจกรรมปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุด้านวิชาการ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการดำเนินจัดกิจกรรมปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2553). รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพ ฯ: บริษัททีคิวพี จำกัด.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2543). สถานะประชากรสูงอายุไทยในปัจจุบันและการดำเนินงาน ต่าง ๆ ของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและพฤฒาวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aday and Anderson (1975). Access to Health Care. Journal of Nursing Scholarship, Volume 31, Issue 1, pages 13-19, March 1999.
Penchansky and Thomas (1981) Penchansky R and Thomas J.W. The concept of access: Definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care, 19(2):127-40.