การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 378 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified samp
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 378 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test, F–test และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะเจเนอเรชั่นวายของนิสิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความบันเทิง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการศึกษา ด้านการตลาด และด้านการสื่อสารการเมือง อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบความแตกต่างพบว่า นิสิตที่มีที่มีอายุ เกรดเฉลี่ย รายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน แรงจูงใจต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต แรงจูงใจด้านการได้รับการยกย่องและคุณลักษณะเจเนอเรชั่นวายสามารถร่วมกันทำนายทัศนคติโดยภาพรวมได้ร้อยละ 15.3 จากผลการศึกษาอาจกล่าวสรุปได้ว่า ตัวแปรสำคัญที่เข้าทำนาย ในทุกรายด้านและในภาพรวมของทัศนคติต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ แรงจูงใจต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริม
การแสดงออกทางด้านผลงาน ความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมให้นิสิตเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ควรมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับการใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์เพื่อให้เกิดประโยชน์ และส่งเสริมให้นิสิตใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
ณภัทร์ บรรลังค์. (2554).ทฤษฎีแรงจูงใจ. สืบค้นจาก https://www.l3nr.org/posts/425512
พิชญาวี คณะผล. (2554). การศึกษาทัศนคติ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา: นักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาจ.เพชรบูรณ์. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
พสุ เดชะรินทร์. (2552). “การทำความเข้าใจกับคน Gen Y”. กรุงเทพธุรกิจ.
ภานุวัฒน์ กองราช. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นกรณีศึกษา Facebook. สืบค้นจาก http://goo.gl/3VO9U7
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2558).จำนวนนิสิตปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.[std.regis.ku.ac.th]
สืบค้นจาก https://regis.ku.ac.th/cpcmns/rpt_std_ku3.php
สาระดีดี.คอม. (2553). Why Generation: GenerationY: Gen Y. สืบค้นจาก http://goo.gl/QIXMH3
เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์. (2550). Generation Y ตบเท้าเข้าสู่โลกธุรกิจ.สืบค้นจาก Positioningmag.com Brand Buffet.
เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์. (2550). ผู้หญิงคลั่ง Facebook มากกว่าชาย. สืบค้นจาก http://goo.gl/izRWpT
Thailand Zocial Awards 2014. (2014). เผยสถิติบนโลกออนไลน์และพฤติกรรมการใช้ Social Network
ของไทย. สืบค้นจาก http://goo.gl/cpk83q
Thumbsup. (2013).วิจัยพบผู้หญิงมีอิทธิพลบนโลกโซเซียลมากกว่าผู้ชาย. สืบค้นจาก http://goo.gl/WbsgE7
Ellen Johanna Helsper. (2007). Internet use by teenagers: Social inclusion, self-confidence and group identity. London School of Economics and Political Science Department of Media and Communications.
Whitney Sue Thoene. (2012). The Impact of Social Networking Sites on College Students' Consumption Patterns. In partial fulfillment of the requirements for the degree of Master of Arts. Marshall University.