ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูก ในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่ม แบบวัดหลังทดลองอย่างเดียว (posttest–only design) โดยศึกษาเปรียบเทียบอุบัติการณ์อาการท้องผูกและความรุนแรงของอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระหว่างผู้ที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูกกับผู้ที่ได้รับ การพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลอง 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึก
การถ่ายอุจจาระ แบบประเมินแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการป้องกันและจัดการอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่ได้รับ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซึ่งผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา (content validity) ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index) = 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ Chi squared, Fisher's exact test และสถิติ Independent t – test
ผลการวิจัยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดอาการท้องผูกของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p < .001) และความรุนแรงของอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระหว่างกลุ่มกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p < .001)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2540). การสำรวจสุขภาพประชากรวัย 50 ปี ขึ้นไปประเทศไทย ปี พ.ศ. 2538. กรุงเทพฯ: ดีไซด์ จำกัด.
ธารดาว ทองแก้ว. (2544). กินเส้นใยอาหารอย่างไรให้พอดีทั้งชนิดและปริมาณ. หมอชาวบ้าน. 23(269),51-53.
นิตยา ภาสุนันท์. (2545). อาการปวดข้อในผู้ป่วยสูงอายุ. ใน จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ (บรรณาธิการ). การพยาบาลผู้สูงอายุ (หน้า 240-241). กรุงเทพฯ: เรืองธรรม.
โบตั๋น แสนสุขสวัสดิ์, พรรณวดี พุธวัฒนะและสุภาพ อารีเอื้อ. (2550). การป้องกันและจัดการอาการท้องผูกในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 13(2), 106-123.
ปราณี กระทู้ไพเราะ. (2532). ผลของการกระตุ้นการขับถ่ายอุจจาระต่อภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยมหิดล).
ปองจิตร ภัทรนาวิก และปาริชาติ จันทร์สุนทราพร. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การตอบสนองต่อความปวดกับความสามารถในการทำหน้าที่ของข้อเข่าในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม.วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์ แห่งประเทศไทย, 10(2), 101-114.
พวงผกา มั่นหมาย. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล).
วราภรณ์ ไวคกุล. (2545). การดูแลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ที่มีความปวด. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย,7(2),89-297.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2552) .สารประชากร. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย.(2549). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม. สืบค้นจาก http://www.thairheumatology.org/
สมจิต หนุเจริญกุล. (2543). การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:วี. เจ.พรินติ้ง.
สมพร ชินโนรส, สุภาพ สุวรรณเวโชและนฤมล คชเสนี. (2549). ประสบการณ์ความปวดและการจัดการกับ
ความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. รามาธิบดีสาร, 12(3), 304-316.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุลม, วงศ์วัฒน์ ลิ่วลักษณ์, รานี ทวีกิติกุล และ จักษณา ปัญญาชีวิน (2544). ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชน: ความหมายและอัตราความชุก. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2(1), 8-7.
อุดม คชินทร (2537). ตำราอายุรศาสตร์อาการวิทยา: ท้องผูก Constipation. กรุงเทพฯ: เซ็ทสแควร์.
Bijlsma, J.W., & Knahr, K. (2007). Strategies for the prevention and management of osteoarthritis of the hip and knee. Best pract Res chin rheumatol, 2(21), 59-76.
Dodd, M., Janson, S., Facione N., Faucett, J., Froelicher, E.S., Humphreys, J. & et al. (2001). Advancing the science symptom management. Journal of advanced nursing, 33(5), 668-676.
Eberhardie, C. (2003). Constipstion: Identifying the problem. Nursing older people,15(9),22-26.
Harington, K. L., & Halewitz, E. M. (2006). Managing a patient’s constipation with physical
therapy. Physical therapy, 86 (11), 1511-1519.
Hinrichs, M., & Huseboe, J. (2001). Research – based protocol management of constipation. Journal of gerontological nursing, 27(2), 17-28.
Karam, S. E., & Nies, D. M. (1994). Student/staff collaboration: a pilot bowel management program. Journal of gerontological nursing, 20(3), 32-40.
Machin, D., Campbell J. M., Tan B. S, & Tan H. S. (2009). Sample size table for clinical studies. 3rd edition. Singapore : Los. Blackwell Publishing.
Molitor, P. (1985). Constipation. Nursing mirror, 8(5), 18.
Register Nurse’s Association of Ontario. (2005). Prevention of constipation in the older adult population. Nursing best practice guideline. 1-56.
The American Gastroenterological Association (2007). Understanding constipation. A patient’s guide from your doctor and AGA. Advancing the science and practice Gastroenterology, Retrived from http://www.gastro.org/patient-center/ digestive-condition/constipation.